Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2564

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)


บทสรุปผู้บริหาร

จากผลการดำเนินงานของหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร ปีการศึกษา 2564 ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี)ได้คะแนนการประเมินตนเอง 3.80 มีระดับคุณภาพ ดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร มีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร การผลิตบัณฑิตหรือการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาและอาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรม จริธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้เท่ากับ 4.83 อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ต้องให้ความสำคัญ กับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษา และการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษา มีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองใจองค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ 3.33 อยู่ในระดับคุณภาพดี

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 3.59 อยู่ในระดับคุณภาพดี

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร มีการกำกับการบริหารหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ 3.75 อยู่ในระดับคุณภาพดี

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร มีการสนับสนุนให้นักศึกษา สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 นี้เท่ากับ 4.00 อยู่ในระดับคุณภาพดี

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)

2) ชื่อปริญญา ศึกษาศาสตรบัณฑิต

3) สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (4 ปี)

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถจัดการศึกษาด้านภาษาไทยได้อย่างมีคุณภาพ โดยบูรณาการความรู้ทางด้านพระพุทธศาสนาและมีทักษะการถ่ายทอดความรู้ การค้นคว้าวิจัย เพื่อแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีที่สอดคล้องกับผู้เรียน สภาพสังคม วัฒนธรรมและวิถีการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 พร้อมทั้งยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพครู และมีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาสังคม

2) ความสำคัญของหลักสูตร

ภาษาไทยเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการแสวงหาความรู้สรรพวิชาอื่น ๆ อีกทั้งเป็นเครื่องมือสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเองและสังคมในการประกอบอาชีพ และการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นไป

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะนี้

          1.3.1 มีคุณธรรม จริยธรรม มีอุดมการณ์และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพครู มีบุคลิกภาพและคุณลักษณะความเป็นครูที่ดี  มีวินัย  ซื่อสัตย์ รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม  มีจิตสาธารณะ รักและภูมิใจในท้องถิ่น สถาบันและประเทศชาติ  และสามารถใช้ความรู้และประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพครูในการแก้ปัญหาการทำงานได้

          1.3.2 มีความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมต่างภาษาและหลักการสำคัญในสาขาวิชาการสอนภาษาไทย  มีทักษะและประสบการณ์การเรียนรู้ในสาขาวิชาการสอนภาษาไทย สามารถปฏิบัติงานในสาขาอาชีพในสถานการณ์ต่างๆ ได้  เข้าใจสาระความรู้และบูรณาการความรู้ภาษาไทยกับศาสตร์อื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          1.3.3 มีทักษะทางปัญญา สามารถค้นหา ตีความ ประเมินสารสนเทศเพื่อใช้ในการพัฒนาความรู้  การแก้ปัญหาทางวิชาการได้อย่างสร้างสรรค์  มีความสามารถคิดวิเคราะห์  โดยใช้ประสบการณ์ของตนในการแก้ปัญหาการทำงานได้ 

          1.3.4 มีทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ  มีภาวะผู้นำ มีความคิดริเริ่มในการวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของตนเองและของกลุ่ม  ตระหนักในความแตกต่างหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี  และมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองและสาขาวิชาการด้านภาษาอย่างต่อเนื่อง 

          1.3.5 มีทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข  การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ  มีความสามารถในการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์หรือกระบวนการวิจัยในการคิดวิเคราะห์หรือแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันและในการปฏิบัติงาน  มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการแสวงหาความรู้ การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศ  และบูรณาการศาสตร์ภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะแห่งการเรียนรู้ การสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          1.3.6  มีทักษะการจัดการเรียนรู้  การวางแผนการจัดการเรียนการสอนและเทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม สามารถเลือกใช้รูปแบบ วิธีการสอน และเทคนิคการจัดการเรียนรู้สมัยใหม่ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้  และมีการวัดผลและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขและพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้

1.4 รหัสหลักสูตร 25621864000929

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร
ปีการศึกษา 2564

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาชีพ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติการ (วิชาชีพ)
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
4.66
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
5
5.00
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
4.83
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.33
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
2.78
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.59
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.75
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้)
3.80
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 2 - - 4.83 4.83 ดีมาก
3 3 3.33 - - 3.33 ดี
4 3 3.59 - - 3.59 ดี
5 4 4.00 3.67 - 3.75 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 13 3.54 3.75 4.83 3.80 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี ดีมาก ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

จุดเด่น

- บัณฑิตมีอัตราการมีงานทำสูง

โอกาสในการพัฒนา

- หลักสูตรควรนำข้อมูลอัตราการมีงานทำมาวิเคราะห์ถึงรายได้และการทำงานว่าตรงตามสาขาที่เรียนหรือไม่เพื่อหลักสูตรจะได้จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาให้เป็นไปตามเป้าหมายที่หลักสูตรกำหนด

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

หลักสูตรควรวางแผนเพื่อหานักศึกษาให้มากขึ้น โดยเพิ่มช่องทางในการประชาสัมพันธ์ และสร้างเครือข่ายกับโรงเรียนต่างๆในจังหวัด

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
  • ควรกำกับติดตามการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ให้เป็นไปตามแผนพัฒนาอาจารย์ตามที่กำหนดไว้
  • ควรวางแผนอัตรากำลังทดแทนของการเกษียณอายุการทำงานของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
  • หลักสูตรควรทำความเข้าใจในการออกแบบหลักสูตรและสาระรายวิชาให้ทันสมัยและสอดคล้องกับความก้าวหน้าของศาสตร์เพื่อวางแผนการจัดการเรียนการสอนและเพิ่มเติมความรู้ในสาระรายวิชาที่เกี่ยวข้อง
  • หลักสูตรควรวางแผน และกำหนดรายวิชาที่บูรณาการกับการเรียนการสอน กับการวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
  • หลักสูตรควรวางแผนและปรับเปลี่ยนกระบวนการประเมินผลผู้เรียนให้หลากหลายและครอบคลุมในหลากหลายมิติ เพื่อให้สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ที่หลักสูตรคาดหวัง
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

ควรมีการจัดหมวดหมู่สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน เพื่อให้ง่ายกับการนำไปใช้

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

นักศึกษาปัจจุบัน

  • ช่วยเล่าการเรียนการสอนในปี 2564 ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร

ตอบ เป็นรูปแบบออนไลน์ทั้งปีมีกิจกรรมที่ต้องช่วย เช่นการทำวิจัยหรือการทำกิจกรรมต่างๆและมาพบประช่วงที่สถานการณ์คลี่คลายมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมแต่มีปัญหาบ่อยๆก็คือไฟดับ

  • มีกิจกรรมพัฒนานักศึกษาหรือไม่

ตอบ มีค่ะ กิจกรรมโต้วาที หรือกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพความเป็นครูและได้รับรางวัลกิจกรรมโต้วาทีอีกด้วย

  • กิจกรรมพัฒนาภาษาอังกฤษเป็นแบบไหน

ตอบ เป็นการอบรมออนไลน์จัดเป็น 15 ชั่วโมงในช่วงเช้าของทุกๆวันตั้งแต่ปีหนึ่งถึงปีสี่ที่ต้องเข้าร่วมโดยในการอบรมจะมีการจัดทำตะลุยข้อสอบต่างๆที่นำไปใช้ประโยชน์ได้

  • ความรู้สึกที่มาเรียนการสอนภาษาไทยครั้งแรกและปัจจุบันเป็นอย่างไร

ตอบ เกินคาดกว่าสิ่งที่คิดไว้ ตอนแรกรู้สึกว่าจะเป็นยังไงมาเรียนแล้วจะโอเคไหมมีความกังวลมากพอเข้ามาเรียนรู้สึกว่าอบอุ่นเหมือนเป็นบ้านหลังที่สองอาจารย์ดูแลดีและคอยซัพพอร์ตทุกๆอย่าง

ศิษย์เก่า

  • ตอนนี้เราสมัครงานอัตราแข่งขันสูงหรือไม่

ตอบ พอดีไปฝึกสอนอยู่ที่นั่นและมีเพื่อนแนะนำให้ไปสอบก็เลยสมัครเข้าไปมีคู่แข่งทั้งหมดสี่คนมีการสอบข้อเขียนและสัมภาษณ์

  • คิดว่าเราได้อะไรจากหลักสูตรการสอนภาษาไทย

ตอบ ได้ใช้ในเรื่องของการสื่อสารการเรียนนำไปใช้ในด้านการเขียนได้ฝึกพัฒนาเด็กไปในตัวมีการเรียนการสอนที่ยังไม่ดีพอทำให้นักเรียนเข้าไม่ถึงเราก็สามารถที่จะนำภาษาไทยไปประยุกต์ใช้กับภาษาบาลีและสันสกฤตได้

  • มีการนำกิจกรรมที่เรียนไปประยุกต์ใช้ในการทำงานหรือไม่

ตอบ มีกิจกรรมภาษาไทยกิจกรรมคัดลายมือโต้วาทีเรียงความและนำไปต่อยอดในระดับเขตและระดับประเทศต่อไป

  • ในฐานะที่ได้สอบเป็นบุคลากรของโรงเรียนที่ทำงานอยู่เราได้รับมอบหมายในเรื่องอะไรบ้าง

ตอบ ในเรื่องของการเรียนการสอนนอกจากจะสอนในภาษาไทยแล้วยังได้สอนภาษาอังกฤษการงานอาชีพเพราะว่าบุคลากรไม่เพียงพอส่วนหน้าที่หลักๆรองลงมาก็คือการดูแลทุนให้นักเรียนทั้งหมดห้ารุ่นมีเด็กจบไปแล้วสามรุ่นส่วนมากที่จบจากมีเรียนต่อที่วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร

  • อยากให้ข้อเสนอแนะหรือให้อะไรเพิ่มเติมแก่หลักสูตรหรือไม่

ตอบ อยากให้มีชีทสรุปแนวข้อสอบหรือสรุปการสอนแก่นักศึกษาซึ่งในการเรียนออนไลน์เนื้อหาไม่ดีเท่ากับเรียนออนไซด์มีกิจกรรมทักษะวิชาการเพื่อให้นักเรียนได้แสดงออกด้านความเป็นครูการจัดทำแผนการสอนอยากให้นักศึกษาเป็นคนเขียนเองและมีการฝึกปฏิบัติจริง

ภาพถ่าย