Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2564

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)


บทสรุปผู้บริหาร

คณะกรรมการได้ดำเนินการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญาปรัชญาศาสนาและวัฒนธรรม คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาเพื่อการพัฒนาองค์กรทุก ๆ ด้านให้มีประสิทธิภาพตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาหรือ สกอ. ได้กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการตามองค์ประกอบคุณภาพ 6 องค์ประกอบ ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้จำนวน 13 ตัวบ่งชี้โดยเป็นกลุ่มสถาบันที่เน้นระดับปริญญาตรีตัวบ่งชี้ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาจำนวน 13 ตัวบ่งชี้รายงานการประเมินตนเองฉบับนี้ปีการศึกษา 2564 มีการประเมินตามหลักเกณฑ์ของ สกอ. โดยคะแนนเต็ม 1-5 คะแนนทุกตัวบ่งชี้ ซึ่งผลการประเมินมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน ผ่านการประเมินถือว่าเป็นหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต ได้คะแนน 4.83 อยู่ในระดับดีมาก
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา ได้คะแนน 3.00 อยู่ในระดับปานกลาง
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ได้คะแนน 3.30 อยู่ในระดับดี
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน ได้คะแนน4.00 อยู่ในระดับดี
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ได้คะแนน4.00 อยู่ในระดับดี
โดยภาพรวมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญาปรัชญาศาสนาและวัฒนธรรม คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร ถือว่าเป็นหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน ได้คะแนนที่ 3.73 อยู่ในระดับดี

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)

2) ชื่อปริญญา

3) สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

2) ความสำคัญของหลักสูตร

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1.4 รหัสหลักสูตร 25631864003327

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร
ปีการศึกษา 2564

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาการ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
4.66
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
5
5.00
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
4.83
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.00
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
3
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
3.89
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.30
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
4
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
4.00
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้)
3.73
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 2 - - 4.83 4.83 ดีมาก
3 3 3.00 - - 3.00 ปานกลาง
4 3 3.30 - - 3.30 ดี
5 4 4.00 4.00 - 4.00 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 13 3.27 4.00 4.83 3.73 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี ดีมาก ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

แนวทางส่งเสริมและพัฒนา

การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาจารย์ประจำหลักสูตรในจัดทำผลงานทางวิชาการ รวมไปถึงการทำบทความวิชาการ งานวิจัย ตำรา หรือหนังสือเพิ่มมากขึ้นและหลากหลาย

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

แนวทางส่งเสริมและพัฒนา

          ควรมีการทบทวนข้อมูลสารสนเทศ สำหรับใช้ในการติดตามบัณฑิตและผู้ใช้บัณฑิต  สำหรับเป็นข้อมูลย้อนกลับมาปรับปรุงการเรียนการสอนและพัฒนาหลักสูตร ให้ทันสมัยและตรงกับความต้องการของสังคมและชุมชน

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

แนวทางส่งเสริมและพัฒนา

การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ตามจุดเน้นของหลักสูตร เพื่อมุ่งเน้นให้นักศึกษามีความรู้ ความสามารถ หรือประสบการณ์ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด และควรมีการกำกับติดตามผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาให้เป็นรูปธรรม และนำผลนั้นมาปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรและศักยภาพของนักศึกษาในปีต่อๆไป

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

 

แนวทางส่งเสริมและพัฒนา

ควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ประจำหลักสูตร มีผลงานทางวิชาการที่หลากหลาย เช่น การวิจัย บทความทางวิชาการ หนังสือหรือตำรา รวมถึงการตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานในช่องทางต่าง ๆ ทั้งในระชาติและนานาชาติ ตลอดจนการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

แนวทางพัฒนา

          หลักสูตรควรมีการทบทวนการเรียนการสอนออนไลน์ตามสถานการณ์ในยุคโควิด 19 เพื่อปรับปรุงและวางแผนการเรียนการสอนให้มีความทันสมัย

 

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

จุดเด่น

ปีการศึกษา 2563 - 2564 เป็นปีที่โรคอุบัติใหม่ (โควิด 19) ระบาดหนัก ทำให้ไม่มีการเรียนการสอนในห้องเรียนต้องเป็นระบบออนไลน์ทั้งหมด  ซึ่งหลักสูตรสามารถได้จัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ตสำหรับนักศึกษา คณาจารย์ ตลอดจนบุคลากรผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนได้อย่างดีเยี่ยม

 

แนวทางเสริมจุดเด่น

           ควรมีการสำรวจสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ให้มีความพร้อมใช้งานอยู่เสมอ

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)

จุดเด่น

ที่ตั้งของวิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธรตั้งอยู่ทำเลที่เป็นศูนย์กลางคมนาคม เหมาะสำหรับการจัดการเรียนการสอน นอกจากนี้ยังเป็นที่ดึงดูดความต้องการของนักศึกษารวมไปถึงมีหน่วยงานท้องถิ่นสนับสนุนการเรียนการสอน ดังนั้นแล้วมหาวิทยาลัยควรจะสำรวจหรือวิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียน/ชุมชน เพื่อให้มีการเปิดหลักสูตรระยะสั้นที่สามารถรองรับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น

 

แนวทางเสริมจุดเด่น

หลักสูตรควรวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์สังคม การประชาสัมพันธ์รับนักศึกษาเพิ่มเติม เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนท้องถิ่น โดยใช้วิธีการประชาสัมพันธ์เชิงรุก ซึ่งอาจใช้เครือข่ายทางคณะสงฆ์เข้ามามีส่วนร่วม

 

บทสัมภาษณ์

นักกศึกษาปัจจุบันปี 4 ยโสธร
ช่วงในการเรียนการสอนออนไลน์มีปัญหาและอุปสรรคอย่างไรบ้าง
หลักสูตรมีการจัดการเรียนการสอนให้อย่างไร
1. มีการทดสอบการสอนก่อนทุกครั้งในแต่ละปีการศึกษา
2. ในภาพรวมการเรียนการสอนของคณาจารย์ดีมาก
อะไรที่เป็นปัญหาและอุปสรรคในการเรียนการสอนของนักศึกษา
1. มีอุปสรรคในส่วนของปัจจัยภายนอกช่วงดินฟ้าอากาศอยู่บ้าง ในระบบสัญญาณอินเตอร์เน็ตจุดจุดเด่นของหลักสูตรในสถานศึกษาแห่งนี้มีอะไร
2. เพื่อนร่วมห้องมีการช่วยเหลือกันซึ่งกันและกันและมีการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

2. คือได้ธรรมะและปรัชญาของสาสตร์ต่างๆที่สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ซึ่งส่งผลในชีวิตประจำวันมาก
อยากเพิ่มเติมให้อาจารย์มีการสอนอย่างไร
1. อยากให้มีการเสริมสร้างในเรื่องของเทคโนโลยีให้คณาจารย์ได้นำมาสอนนักศึกษาโดยครูอาจารย์จำเป็นต้องปรับตัวเองอย่างต่อเนื่อง

ภาพถ่าย