Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2564

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)


บทสรุปผู้บริหาร

คณะกรรมการประเมินคุณภาพภายใน ของหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง   ได้คะแนนการประเมิน 3.72 มีคุณภาพอยู่ในระดับคุณภาพดีมาก โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน ของหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  มีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานของหลักสูตร ในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่านเกณฑ์

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต ของหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  การผลิตบัณฑิตหรือการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ผลการประเมินในองค์ประกอบที่ 2 นี้เท่ากับ  4.86 มีคุณภาพอยู่ในระดับคุณภาพดีมาก

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา ของหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย นักศึกษา ระบบการประกันคุณภาพนักศึกษา ต้องให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษาและการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินในองค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ 4 มีคุณภาพอยู่ในระดับคุณภาพดีมาก

องค์ประกอบที่ 4  อาจารย์ ของหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 2.89 มีคุณภาพอยู่ในระดับคุณภาพปานกลาง

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน ของหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ  มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง  ผลการประเมินในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ 3.50 มีคุณภาพอยู่ในระดับคุณภาพดี

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ของหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ  มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินในองค์ประกอบที่ 6 นี้เท่ากับ 4.00 มีคุณภาพอยู่ในระดับคุณภาพดี

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)

2) ชื่อปริญญา

3) สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ (4 ปี)

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตศรีล้านช้าง

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในด้านการสอนมีการบูรณาการการสอนให้เข้ากับวิชาการทางพระพุทธศาสนาสามารถปฏิบัติหน้าที่ความเป็นครูผู้สอนภาษาอังกฤษและเป็นบัณฑิตมีความรู้ความสามารถ (Capability) ทางด้านการสอนภาษาอังกฤษกล้าคิด กล้าทำ กล้าวิพากษ์อย่างมีเหตุผล มีจรรยาบรรณและจริยธรรมสำหรับครูในการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

2) ความสำคัญของหลักสูตร

ปัจจุบันความต้องการทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสามารถทางภาษาเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้มีความพร้อมในการแข่งขันในบริบทนานาชาติและในบริบทประชาคมอาเซียน ด้วยเหตุนี้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีผู้ที่มีความสามารถทางภาษาอังกฤษมากพอที่จะเป็นแม่แบบได้และสามารถพัฒนาความสามารถทางภาษาอังกฤษของผู้อื่นได้อย่างถูกหลักวิชาการเรียนการสอนภาษา และในขณะเดียวกันมีความสามารถที่จะเชื่อมโยงความรู้ทางภาษาอังกฤษกับบริบทของโลกาภิวัตน์ รวมทั้งสามารถศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษได้ ทรัพยากรมนุษย์เหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะดังนี้

  1. บัณฑิตมีความรู้ความเข้าใจในหลักการสอนภาษาอังกฤษ และหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา สามารถบูรณาการปรับเปลี่ยนหลักแนวคิดและทฤษฎีการเรียนการสอนได้อย่างหลากหลายตามสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา
  2. บัณฑิตมีทักษะการสอนภาษาอังกฤษ และสื่อสารภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มีความรู้ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และมีความรับผิดชอบ  มีทักษะการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ประยุกต์ใช้กับการจัดเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม
  3. บัณฑิตมีจิตวิญญาณความเป็นครู มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ ตระหนักถึงคุณค่าของพระพุทธศาสนา และความเป็นไทย มีระเบียบวินัย มีจิตอาสา เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม สามารถพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเป็นนวัตกรรมใหม่ ในการพัฒนางานทางวิชาชีพให้ก้าวหน้าสู่ระดับชาติและนานาชาติ
  4. บัณฑิตมีความเข้าใจในกระบวนการวิจัยและประยุกต์ใช้ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อแก้ปัญหาพัฒนาผู้เรียน ประเมินผลทางการศึกษา พัฒนาศักยภาพด้านการทำงานและการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น แสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต

1.4 รหัสหลักสูตร 25621864000806

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
ปีการศึกษา 2564

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาชีพ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติการ (วิชาชีพ)
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
4.71
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
5.00
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
4.86
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
4
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
4.00
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
1.67
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
2.89
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
3
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.50
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้)
3.72
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 2 - - 4.86 4.86 ดีมาก
3 3 4.00 - - 4.00 ดี
4 3 2.89 - - 2.89 ปานกลาง
5 4 3.00 3.67 - 3.50 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 13 3.38 3.75 4.86 3.72 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี ดีมาก ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
-
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
-
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
-
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
-
สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)

จุดเด่น

1. ระบบและกลไกที่นำไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม

2. สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่ดีให้กับนักศึกษา

จุดที่ควรพัฒนา

1. หลักสูตรควรมีการติดตามประเมินผล ในช่วงเวลาแต่ละภาคการศึกษา ในแต่ละประเด็นมีปัญหาส่วนใด ซึ่งจะส่งผลต่อแนวโน้มภาพใหญ่ เพื่อให้เกิดการควบคุมคุณภาพ

2. การปรับ มคอ.3 และ มคอ.5

3. การเสนอแนะการบูรณาการกับการเรียนการสอน การวิจัย

4. ควรเพิ่มอาจารย์เจ้าของภาษา เข้าสอนเพิ่มเติม

บทสัมภาษณ์

นักศึกษาปัจจุบัน

  1. กิจกรรมของหลักสูตรสามารถพัฒนาตัวนักศึกษาอย่างดี
  2. อาจารย์มีความเป็นกันเองสามารถให้คำปรึกษาได้ตลอดเวลา
  3. อยากให้มีอาจารย์ที่เป็นเจ้าของภาษา
  4. เพิ่มกิจกรรมการแสดงออก เพิ่มพื้นที่ให้นักศึกษาในการแสดงออกของนักศึกษา
  5. มหาวิทยาลัยมีค่าเทอมถูกสามารถช่วยแบ่งเบาภาระผู้ปกครอง
  6. หลักสูตรมีทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาที่มีการขาดแคลนทุนทรัพย์ มีการคัดเลือกและรักษาผลการเรียนให้อยู่ค่าเฉลี่ย 3.00 
ภาพถ่าย