Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2564

หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)


บทสรุปผู้บริหาร
คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
ปีการศึกษา 2564 ได้คะแนนการประเมิน 3.03  มีคุณภาพอยู่ใน ระดับคุณภาพ ดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้
          องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง มีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่าน
            องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง  งดรับการประเมิน
           องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง นักศึกษา ระบบการประกันคุณภาพนักศึกษา ต้องให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษาและการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินในองค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ 2.67 ระดับคุณภาพ ปานกลาง
           องค์ประกอบที่ 4  อาจารย์ หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง  มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 2.78 ระดับคุณภาพ ปานกลาง
            องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง  ผลการประเมินในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ 3.50 ระดับคุณภาพ ดี
           องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินในองค์ประกอบที่ 6 นี้เท่ากับ 3.00 ระดับคุณภาพ ปานกลาง
บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)

2) ชื่อปริญญา ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา)

3) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตศรีล้านช้าง

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (ปรับปรุง พ.ศ.๒๕๖๓) เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีภาวะผู้นำและมีธรรมาภิบาลที่ดี มีการใช้หลักธรรมคำสอนในพุทธศาสนา มีความรู้ความสามารถ และวิสัยทัศน์ระดับสูงในสาขาวิชาและสามารถใช้กระบวนการวิจัยเพื่อบุกเบิกแสวงหา ความรู้ใหม่เพื่อสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ

2) ความสำคัญของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (ปรับปรุง พ.ศ.๒๕๖๓) เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีภาวะผู้นำและมีธรรมาภิบาลที่ดี มีการใช้หลักธรรมคำสอนในพุทธศาสนา มีความรู้ความสามารถ และวิสัยทัศน์ระดับสูงในสาขาวิชาและสามารถใช้กระบวนการวิจัยเพื่อบุกเบิกแสวงหา ความรู้ใหม่เพื่อสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (ปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๓) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตให้มีคุณสมบัติ ดังนี้ คือ

๑) มีภาวะผู้นำและธรรมาภิบาลที่ดีในการบริหารการศึกษาโดยเฉพาะคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการ และจรรยาบรรณทางวิชาชีพรวมทั้งสามารถใช้หลักธรรมคำสอนในพุทธศาสนาเพื่อ การบริหารการศึกษา โดยคำนึงถึงมาตรฐานทางวิชาการและมาตรฐานทางวิชาชีพ

๒) มีความรู้ความเข้าใจในปรากฏการณ์ทางการบริหารการศึกษาที่เกิดขึ้นในสังคมโลกและสังคม ภูมิภาค เพื่อการวิพากษ์เชิงเปรียบเทียบกับระบบการบริหารการศึกษาของสถานศึกษาในประเทศไทยในมิติ ต่าง ๆ รวมทั้งมีความรู้ความเข้าใจในหลักการบริหารการศึกษา ก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลง แนวโน้ม และ นวัตกรรมเพื่อการบริหารการศึกษา โดยคำนึงถึงมาตรฐานทางวิชาการและมาตรฐานทางวิชาชีพ

๓) มีความสามารถทำความเข้าใจทฤษฎี ปรากฏการณ์ การปฏิบัติ การแก้ไขปัญหา และการวิจัย โดยใช้ทักษะการคิดขั้นสูงที่เน้นการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างสรรค์ ทั้งจากการเรียนการสอนแบบปกติใน ชั้นเรียนและจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

๔) มีความสามารถในการร่วมกิจกรรมการเรียนรู้กับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างเหมาะสม ทั้งในหลักสูตรและนอกหลักสูตร รวมทั้งมีความรับผิดชอบต่อคุณภาพของผลงานการเรียนรู้ทั้งในเชิงวิชาชีพ และเชิงวิชาการ

๕) มีความสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างประสิทธิผล ทั้งเพื่อการเรียนรู้ การเรียนการสอน การ วิจัย การติดต่อสื่อสาร การบริหารจัดการ และอื่น ๆ

๖) มีความสามารถทำวิจัยในประเด็นที่ท้าทาย มีความลุ่มลึกการทำวิจัยในระดับสูงมีการจัดการและ ลึกซึ้งกับปัญหาเชิงจริยธรรม สื่อความคิดและข้อสรุปจากผลการวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมต่อความ เป็นผู้นำการวิจัยในสาขาวิชา

1.4 รหัสหลักสูตร

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
ปีการศึกษา 2564

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 3 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งศาสตราจารย์ขึ้นไป และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร มีอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติขั้นต่ำปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไป มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน หรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง คุณสมบัติของ

อาจารย์พิเศษ (ถ้ามี) มีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง มีชั่วโมงสอนไม่เกินร้อยละ 50 ของรายวิชา โดยมีอาจารย์ประจำเป็นผู้รับผิดชอบรายวิชานั้น

ผ่าน
5. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ ต้องเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
6. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ต้องมีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
7. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์

อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย อาจารย์ประจำหลักสูตร และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกไม่น้อยกว่า 5 คน ประธานผู้สอบวิทยานิพนธ์ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก

อาจารย์ประจำหลักสูตร ต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่าและมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติ ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระไม่น้อยกว่า 10 เรื่อง หากไม่มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์ตามที่กำหนดจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงเป็นที่ยอมรับซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ โดยผ่านการเห็นชอบของสภาสถาบันและแจ้ง กกอ ทราบ

ผ่าน
8. การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา

การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา กรณี แผน ก1 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. กรณี แผน ก2 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. หรือ นำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการ (proceedings) กรณี แผน ข รายงานการค้นคว้าหรือส่วนหนึ่งของการค้นคว้าอิสระต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้

ผ่าน
9. ภาระงานอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา

วิทยานิพนธ์ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 5 คน

การค้นคว้าอิสระ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 15 คน

หากอาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอกและมีตำแหน่งทางวิชาการหรือปริญญาโท และมีตำแหน่งทางวิชาการระดับรองศาสตราจารย์ขึ้นไป 1 คนต่อนักศึกษา 10 คน หากเป็นที่ปรึกษาทั้ง 2 ประเภทให้เทียบสัดส่วนนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ 1 คนเทียบเท่ากับนักศึกษาที่ค้นคว้าอิสระ 3 คน

ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ไม่รับการประเมิน
2.2 ผลงานของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
0.00
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
2
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
2.67
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
3
4.2 คุณภาพอาจารย์
3.33
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
2
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
2.78
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
3
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.50
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
3.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (11 ตัวบ่งชี้)
3.03
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 0 - - - - -
3 3 2.67 - - 2.67 ปานกลาง
4 3 2.78 - - 2.78 ปานกลาง
5 4 3.00 3.67 - 3.50 ดี
6 1 - 3.00 - 3.00 ปานกลาง
รวม 11 2.76 3.50 - 3.03 ดี
ผลการประเมิน ปานกลาง ดี - ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
-
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
-
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
-
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
-
สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)

จุดเด่น

  1. มีเอกลักษณ์ฌเฉพาะตัวของมหาวิทยาลัย ในการนำธรรมะมาสอดแทรกกับหลักสุตรและการเรียนการสอน
  2. ค่าเล่าเรียนไม่แพง แต่ได้มาตรฐาน

จุดที่ควรพัฒนา

  1. เจ้าหน้าที่ในการให้บริการไม่เพียงพอ ทำให้การประสานงานกับนักศึกษาไม่ทั่วถึง จนทำให้นักศึกษาได้รับคำตอบที่ไม่ชัดเจน 
  2. การสร้างภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยที่สามารถเรียนได้ทั้งฆารวาสและบรรพชิต 
  3. ควรปรับกระบวนการการรับนักศึกษาให้มีความหลากหลายเพื่อให้การรับนักศึกษาไปเป็นตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

  4. หลักสูตรควรกำหนดปฏิทินกิจกรรมต่างๆ ล่วงหน้าเพื่อให้นักศึกษาได้เตรียมตัวและให้ควรนักศึกษามีส่วนร่วมในการเลือก วางแผนกิจกรรมการเรียนรู้ หรือกิจกรรมเสริมหลักสูตร
  5. หลักสูตรควรดำเนินการจัดทำแผนบริหารพัฒนารายบุคคลอาจารย์รายบุคคล (IDP)  โดยกำหนดให้พัฒนา ด้านวิชาการ เช่น ทำวิจัย ตีพิมพ์บทความวิชาการ/วิจัย ในฐานTCI หรือในฐานระดับนานาชาติ scopus ในด้านการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ได้แก่ อาจารย์ทุกท่านต้องดำเนินการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น 

  6. ควรส่งเสริมให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกท่าน มีผลงานทุกท่าน และให้มีการได้รับการอ้างอิงทุกคน

  7. หลักสูตรควรศึกษาเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรปี 2565  เพื่อเตรียมตัวรองรับในอนาคต
บทสัมภาษณ์

นักศึกษาปัจจุบัน

  1. มหาวิทยาลัยมาความเป็นอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยสงฆ์ และอยู่ใกล้ที่พักและค่าใช้จ่ายในการศึกาาไม่แพง มีความมั่นใจในการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัย
  2. อาจารย์มีความเมตตา ช่วยเหลือกำกับติดตามนักศึกษาอย่างดี
  3. หลักสูตรควรกำหนดปฏิทินกิจกรรมต่างๆ ล่วงหน้าเพื่อให้นักศึกษาได้เตรียมตัวและให้ควรนักศึกษามีส่วนร่วมในการเลือก วางแผนกิจกรรมการเรียนรู้ หรือกิจกรรมเสริมหลักสูตร
  4. ควรเพิ่มกิจกรรมในการศึกษาดูงาน อาจจะเป็นในประเทศ หรือต่างประเทศให้เห็นภาพจริงในฐานะของผู้บริหาร หรือการศึกษาดูงานในส่วนขององค์ความรู้ของผู้บริหาร
  5. อยากให้มีอาจารย์เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ดูแลนักศึกษาอย่างทั่วถึงไม่หนักมากเกินไป
  6. หลักสูตรมีการพัฒนาเตรียมความพร้อม ด้านเทคโนโลยีและภาษาอังกฤษ ที่ดี
ภาพถ่าย