Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2564

หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)


บทสรุปผู้บริหาร

หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง เป็นหลักสูตรปรับปรุง (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563) ในปีการศึกษา 2564 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเริ่มกระบวนการวางแผนการประเมินคุณภาพการศึกษา โดยนำผลการประเมินในปีที่ผ่านมา  เป็นฐานข้อมูลในการวางแผนและดำเนินการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตรประจำปี 2564 (มคอ.7) หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด ตามตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรที่กำหนดไว้ 6 องค์ประกอบ และ 13 ตัวบ่งชี้ จากผลการดำเนินงานของหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต เมื่อประเมินโดยใช้เกณฑ์มาตรฐาน และอิงเกณฑ์การประเมินตามที่ สกอ. กำหนดในรอบปีการศึกษา 2564 ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้

               ผลการประเมินเฉลี่ยในภาพรวมทุกองค์ประกอบ พบว่า หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง อยู่ในระดับดีโดยมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 3.56 ซึ่งมีผลการประเมินรายองประกอบ ดังนี้

                องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้างมีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่าน

                องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง การผลิตบัณฑิตหรือการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในด้านวิชาการและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ย 4.82

                องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง ให้ความสำคัญกับการรับ คัดเลือกนักศึกษา และการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถ ตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีผลการประเมินอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย 3.33

                องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์ และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ มีผลการประเมินอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 2.56

                องค์ประกอบที่ 5 การเรียนการสอนการประเมินผู้เรียน หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง  มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มี ประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง มีผลการประเมินอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย 3.75

                องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ มีผลการประเมินอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย 4.00

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)

2) ชื่อปริญญา รัฐศาสตรบัณฑิต (การปกครอง)

3) สาขาวิชาการปกครอง

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตศรีล้านช้าง

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มี คุณสมบัติสอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยว่าด้วย “ความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนว พระพุทธศาสนา” อีกทั้งเสริมสร้างทักษะความรู้ ความสามารถทางรัฐศาสตร์แบบบูรณาการให้ สอดคล้องกับศาสตร์พระราชาและยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 มาตรฐานการอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การวิจัยพื้ นฐาน การบริการวิชาการ การทํานุบํารุง ศิลปวัฒนธรรม และการบริหารจัดการ รวมทั้ งสนับสนุนให้ฝึกภาคสนามในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองคณะสงฆ์ และหน่วยงานอื่น ๆ หรือการทําวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญา ตรี รู้จักวิธีแสวงหาความรู้ตามระเบียบวิธีทางวิชาการ และสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ ได้ เพื่อให้บัณฑิตสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้เรียนมาให้เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคม

2) ความสำคัญของหลักสูตร

เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบัณฑิตทางด้านรัฐศาสตร์ที่มีความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ตามแนวพระพุทธศาสนาและตามหลักวิชาการสากล ทั้งในมิติการเมืองในประเทศและการเมือง ระหว่างประเทศ และมีคุณลักษณะสอดคล้องกับความมุ่งหมายทางการศึกษาและปรัชญาของ หลักสูตร เป็นกําลังที่สําคัญของภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม เพื่อการพัฒนาประเทศอย่าง ยั่งยืนตามแนวพระพุทธศาสนา

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1. เพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านรัฐศาสตร์ให้มีความรู้พื้นฐานทางวิชาการด้านรัฐศาสตร์ และ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

2. เพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านรัฐศาสตร์ให้มีทักษะทางปัญญาและการคิดอย่างเป็นระบบ พัฒนา และต่อยอดองค์ความรู้ทางด้านรัฐศาสตร์

3. เพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านรัฐศาสตร์ให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีภาวะผู้นํา ภาวะผู้ตาม และจิตสาธารณะ พร้อมทั้งมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

4. เพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านรัฐศาสตร์ มีวิสัยทัศน์ เข้าใจปัญหาสังคมและสามารถ วิพากษ์วิจารณ์ตามหลักวิชาการทางรัฐศาสตร์และหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

5. เพื่อส่งเสริมทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการค้นคว้าหาความรู้ทางด้านวิชาการ

1.4 รหัสหลักสูตร 25631864000706

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
ปีการศึกษา 2564

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาการ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
4.64
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
5
5.00
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
4.82
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
4
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.33
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
3
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
1.67
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
2.56
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
3
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
4
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.75
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้)
3.56
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 2 - - 4.82 4.82 ดีมาก
3 3 3.33 - - 3.33 ดี
4 3 2.56 - - 2.56 ปานกลาง
5 4 3.00 4.00 - 3.75 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 13 2.95 4.00 4.82 3.56 ดี
ผลการประเมิน ปานกลาง ดี ดีมาก ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

โอกาสในการพัฒนา

ข้อประเมินที่ได้คะนนต่ำในด้านความรู้ ควรมีการนำมาพูดคุยแลกเปลี่ยนเพื่อออกแบบรายวิชาและการเรียนในเนื้อหาหลักสูตร

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

จุดเด่น

จำนวนนักศึกษาที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการประชาสัมพันธ์ และรูปแบบการรับนักศึกษาที่คล่องตัวและทันสมัย

 

จุดที่ควรพัฒนา

1.การจัดกิจการมหรือการสำรวจการเตรียมความพร้อมควรส่งเสริมทักษะเฉพาะทาง เช่น การปกครอง รัฐศาสตร์ เป็นต้น

2.เพิ่มกระบวนการการกำกับ ติดตาม การคงอยู่ และการสำเร็จของนักศึกษาเพื่อลดความเสี่ยงการลาออกของนักศึกษา และการสำเร็จของนักศึกษา

3.ส่งเสริมและสร้างเครือข่ายการกิจกรรมสำหรับนักศึกษาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เช่น สิงหอีสาน

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

จุดที่ควรพัฒนา

1.จัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (IDP) เพื่อเป็นเเนวทางในการพัฒนาอาจารย์

2.ควรส่งเสริมสนับสนุนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเรียนต่อในระดับปริญญาเอก

3.ควรส่งเสริมสนับสนุนให้อาจารย์เข้าสู่ตำเเหน่งทางวิชาการ

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

โอกาสในการพัฒนา

การใช้วิทยากร ผู้เชี่ยวชาญมาประกอบการบรรยายในหัวข้อประเด็นที่เป็นปรากฎการณ์ทางสังคมที่น่าสนใจในรายวิชาที่ทำการสอน

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

จุดเด่น

มีการนำสื่อและเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการเรียนออนไลน์ เพิ่มเติมจากการประเมินข้อบกพร่องจากปีการศึกษาที่ผ่านมา ส่งผลให้จำนวนนักศึกษาขาดเรียนลดลง

โอกาสในการพัฒนา

ส่งเสริมการถอดบทเรียนโดยสรุปเป็นแนวปฏิบัติที่ดีแล้วนำไปเผยแผ่ให้กับมหาวิทยาลัยในเครือข่ายเพื่อนำไปใช้

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์
ภาพถ่าย