Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2563

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร


บทสรุปผู้บริหาร

ารประเมินตนเองของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัยในพระสังฆราชูปถัมภ์ ประจำปีการศึกษา 2563 สรุปผลการประเมินได้ดังนี้

องค์ประกอบคุณภาพ เป้าหมาย คะแนนการประเมินตนเอง การบรรลุเป้าหมาย
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน      
1.1 การบริหารจัดการ หลักสูตรตามเกณฑ์ มาตรฐานหลักสูตรที่ กำหนดโดย สกอ. ผ่าน ผ่าน บรรลุ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต      
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ไม่รับการประเมิน
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต   0.00  
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา      
3.1 การรับนักศึกษา 5 3 ไม่บรรลุ
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา 5 3 ไม่บรรลุ
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา 5 3 ไม่บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา   3  
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์      
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์ 5 3 ไม่บรรลุ
4.2 คุณภาพอาจารย์ 5 1.67 ไม่บรรลุ
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์ 5 4 ไม่บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์   2.89  
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน      
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร 5 3 ไม่บรรลุ
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน 5 4 ไม่บรรลุ
5.3 การประเมินผู้เรียน 5 3 ไม่บรรลุ
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 5 5 บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน   3.75  
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้      
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 5 3 ไม่บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้   3.00  
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (11 ตัวบ่งชี้)   3.24  
บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

2) ชื่อปริญญา

3) สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย ในพระสังฆราชูปถัมภ์

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย ในพระสังฆราชูปถัมภ์

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

ผลิตบัณฑิตที่มีความรอบรู้ทางด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยสามารถบูรณาการพระพุทธศาสนาเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการและเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลธรรม คุณธรรมและจริยธรรม

2) ความสำคัญของหลักสูตร

ด้วยปัจจัยสำคัญของกระแสการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม คณะมนุษยศาสตร์ ภาควิชาภาษาตะวันตก มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย จึงได้ดำเนินการเปิดหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารให้มีความทันสมัย รองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกด้านการติดต่อสื่อสาร เศรษฐกิจ สังคม และตลาดแรงงานในปัจจุบันและอนาคตที่นักศึกษาสามารถเลือกเรียนได้ตามความสนใจ ได้แก่ กลุ่มรายวิชาที่สัมพันธ์กับรายวิชาที่เน้นความรู้ทางด้านการติดต่อสื่อสาร เป็นต้น การเรียนการสอนในหลักสูตรมุ่งเน้นการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ สอดแทรกความเป็นคนดี มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณเพื่อให้ได้บุคลากรที่มีคุณภาพ มีความสามารถในการประกอบอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญของประเทศต่อไป

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1.  เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เช่น ศาสนพิธี ประเพณีและศิลปวัฒนธรรมของไทยทั้งในและต่างประเทศ
  2. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถในการนำความรู้ด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารไปใ้ช้ประกอบอาชีพทั้งภาครัฐและเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีศีลธรรม คุณธรรมจริยธรรม มีความรับผิดชอบและสามารถรับใช้สังคมได้

1.4 รหัสหลักสูตร T20182112101569

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย ในพระสังฆราชูปถัมภ์
ปีการศึกษา 2563

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาการ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ไม่รับการประเมิน
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
0.00
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
4
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
4
3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
4
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.00
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
4
3
4.2 คุณภาพอาจารย์
4
1.67
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
2.89
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
4
3
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
4
4
5.3 การประเมินผู้เรียน
4
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.75
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
3.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (11 ตัวบ่งชี้)
3.24
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2563
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 0 - - - - -
3 3 3.00 - - 3.00 ปานกลาง
4 3 2.89 - - 2.89 ปานกลาง
5 4 3.00 4.00 - 3.75 ดี
6 1 - 3.00 - 3.00 ปานกลาง
รวม 11 2.95 3.75 - 3.24 ดี
ผลการประเมิน ปานกลาง ดี - ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
  • ควรมีกระบวนการรับนักศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทที่มหาวิทยาลัยกำลังพบ เช่น ปัญหาการผ่านแดนของนักศึกษา ปัญหาการเมืองภายในของประเทศกลุ่มเป้าหมาย
  • หลักสูตรควรประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงนักศึกษาไทยให้มากขึ้น
  • หลักสูตรควรพิจารณาการแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาให้ดูแลนักศึกษาตั้งแต่ชั้นปีที่ 1ถึงชั้นปีที่ 4
  • หลักสูตรควรใช้การวัดมาตรฐานทักษะในศตวรรษที่ 21 ให้เป็นรูปธรรม
  • หลักสูตรควรออกแบบกระบวนการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาให้ครอบคลุมทั้งนักศึกษาในประเทศและต่างประเทศ และสามารถประเมินกระบวนการชี้วัดให้เห็นเป็นรูปธรรม
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
  • หลักสูตรควรพัฒนากระบวนการพัฒนาผู้รับผิดชอบหลักสูตรด้านการพัฒนาคุณวุฒิ และการถึงตำแหน่งทางวิชาการ
  • หลักสูตรควรมีแผนการบริหารอาจารย์เป็นรายบุคคล เช่น อาจารย์แต่ละท่านมีหน้าที่และความรับผิดชอบในภาระงานที่มีความแตกต่างกัน
  • หลักสูตรควรมีแผนพัฒนาอาจารย์เป็นรายบุคคลและสามารถประเมินผลแผนเป็นรายระยะสั้นและระยะยาวให้เห็นการพัฒนาหรือการบรรลุเป้าหมายตามที่แผนระบุไว้
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

จุดเด่น

  • หลักสูตรมีการปรับกระบวนการการบูรณาการวิชาการด้านสังคม การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และการวิจัย โดยมีผลการพัฒนาเป็นที่ประจักษ์คือมีนักเรียนโรงเรียนสะแกนราชวิทยาคม ผ่านการสอบนักธรรม และมีนักศึกษาสามารถตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการในการประชุมวิชาการระดับชาติ

โอกาสในการพัฒนา

  • หลักสูตรควรพิจารณาการสอนภาษาอังกฤษในทักษะต่างๆที่มีความทันสมัยโดยเพิ่มรายวิชาให้มากขึ้น
  • หลักสูตรควรพิจารณาเป้าหมายของการบูรณาการในพื้นที่เดิมให้มีความสอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย
  • หลักสูตรควรพิจารณาแต่งตั้งอาจารย์ภายนอกเป็นกรรมการในการทวนสอบผลสัมฤทธิ์
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
  • หลักสูตรควรร่วมมือกับวิทยาเขตและวิทยาลัยในการแก้ปัญหาข้อร้องเรียนด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้โดยเฉพาะปัญหาด้านระบบอินเตอร์เน็ต
  • หลักสูตรควรพิจารณาแหล่งเรียนรู้ให้มีความสอดคล้องกับธรรมชาติของหลักสูตร
  • หลักสูตรควรให้อาจารย์และนักศึกษามีส่วนร่วมในการประเมินสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น
สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์
ภาพถ่าย