Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2563

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา


บทสรุปผู้บริหาร

รายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง ฉบับนี้ ได้ดำเนินการจัดทำรายงานข้อมูลเฉพาะปีการศึกษา 2563 ด้วยการแบ่ง การรายงานผลออกเป็นองค์ประกอบต่าง ๆ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

               องค์ปะกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ระดับบัณฑิตจะพิจารณาจากการบริหารจัดการหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่ได้ประกาศใช้ เมื่อ พ.ศ. 2559 และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ตลอดระยะเวลาที่มีการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรดังกล่าว องค์ประกอบนี้ มีผลการดำเนิน 5.00 การอยู่ในระดับดีมากตามเกณฑ์ค่าเป้าหมาย

              องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต ในปีการศึกษา 2563  ไม่มีผู้สำเร็จการศึกษา จึงไม่ขอรับการประเมิน 

              องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา ได้ดำเนินการเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานทุกประการ ปีการศึกษา 2563 ได้จัดวางแผนงาน การรับนักศึกษามีเกณฑ์ในการรับนักศึกษา มีการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา โดยอาจารย์ในสาขาวิชาได้ให้คำแนะนำ จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ให้กับนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง สำหรับนักศึกษาที่กำลังศึกษาในปัจจุบัน เป็นนักศึกษาตามหลักสูตร ปรับปรุง 2562 จะเห็นได้ว่ามีจำนวนนักศึกษาคงอยู่ตามรายงานและมีผลการสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาอยู่ในระดับดี องค์ประกอบนี้ มีผลการดำเนินการเฉลี่ยที่ 3.00 อยู่ในระดับปานกลาง ไม่เป็นไปตามตามเกณฑ์ค่าเป้าประสงค์ของปีการศึกษา 2563 ที่กำหนดไว้                 

   องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา ไม่มีการปรับเปลี่ยนอาจารย์ มีอาจารย์ครบ ในส่วนการปรับปรุงหลักสูตรปี พ.ศ.2562 นั้นได้เสนออาจารย์ประจำหลักสูตรชุดเดิม ที่เคยประจำหลักสูตร อีกทั้งผู้บริหารได้สนับสนุนการส่งเสริมให้อาจารย์พัฒนาตนเองทั้งด้านงานวิชาการ มีการส่งเสริมการจัดทำเอกสารประกอบการสอน และการส่งเสริมการวิจัยโดยได้จัดอบรมการทำวิจัยให้กับอาจารย์ ด้านคุณภาพอาจารย์ สาขาวิชามีอาจารย์มีคุณวุฒิปริญญาเอก จำนวน 2 ท่าน กำลังศึกษาระดับปริญญาเอก 1 ท่าน ไม่มีตำแหน่งทางวิชาการ แต่มีแผนในการขอการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ตามแผนพัฒนาอาจารย์ ปีการศึกษา 2564 มีอัตราการคงอยู่ของอาจารย์และมีผลความพึงพอใจอยู่ในระดับดี องค์ประกอบนี้ มีผลการดำเนินการเฉลี่ยที่ 3.44 อยู่ในระดับดี ไม่เป็นไปตามตามเกณฑ์ค่าเป้าประสงค์ของปีการศึกษา 2563 ที่กำหนดไว้

                องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา เป็นหลักสูตรปรับปรุง ปี พ.ศ. 2562 และได้ส่งให้คณะกรรมการรับทราบ และส่งปรับปรุงแก้ไขจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เพื่อให้ทันกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ในส่วนของการดำเนินการวางระบบผู้สอนและระบบการเรียนการสอน สาขาวิชาได้กำหนดผู้สอน การกำกับ ติดตามและตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียน (มคอ. 3) การจัดการเรียนการสอน การแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษา การประเมินผู้เรียนตามกรอบมาตรฐานฯ การตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา การกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอนและการประเมินหลักสูตร (มคอ.5) การประเมินผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี โดยคณะกรรมการสาขาวิชาได้ควบคุมอย่างใกล้ชิดและให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด องค์ประกอบนี้ มีผลการดำเนินการเฉลี่ยที่ 3.75 อยู่ในระดับดี ไม่เป็นไปตามตามเกณฑ์ค่าเป้าหมายของปีการศึกษา 2563

                  องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ สาขาวิชาได้รับการสนับสนุนสิ่งเรียนรู้เท่าที่มีในสถาบันเป็นอย่างดี มีสื่อวัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา บางอย่างที่มีการชำรุดได้รับการพัฒนาปรับปรุง และนำโปรแกรมการเรียนการสอนออนไลน์( Microsoft Team) มาใช้ เพื่อช่วยสนับสนุนการเรียนในปีการศึกษา 2563 มหาวิทยาลัยมีการสนับสนุนซิมอินเตอร์เน็ต ช่วยให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในส่วนของแหล่งเรียนรู้อื่นได้ส่งเสริมให้นักศึกษาได้ค้นคว้าศึกษาจากตำราวิชาการ จากแหล่งสืบค้นอินเตอร์เน็ต และเพิ่มเติมจากเอกสารตำราวิชาการอื่น อาจารย์ประจำหลักสูตร ได้เพิ่มเติมจัดหาเอกสาร ตำรา บทความ งานวิจัย เอกสารประกอบการสอนเพิ่ม เพื่อให้ได้มีตำราเรียนที่เหมาะสมกับยุคในโลกปัจจุบัน และมีห้องปูชนียาจารย์เพื่อใช้เป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับพระสงฆ์ในจังหวัดเลย และพระสงฆ์สายปฏิบัติ องค์ประกอบนี้ มีผลการดำเนินการเฉลี่ย 4.00 อยู่ในระดับดี ไม่เป็นไปตามตามเกณฑ์ค่าเป้าหมายของปีการศึกษา 2563

สรุปผลการดำเนินการ คะแนนเฉลี่ย 3.48 ระดับคุณภาพดี

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา

2) ชื่อปริญญา ศิลปศาสตรบัณฑิต

3) สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตศรีล้านช้าง

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง 

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

ผลิตบัณฑิตให้รอบรู้พุทธศาสตร์ พัฒนาชาติและสังคม บ่มเพาะวัฒนธรรม น้อมนาปรัชญา เศรษฐกิจ พัฒนาชีวิตแบบพอเพียง สร้างสรรค์นวัตกรรมวิชาการ ทำงานอย่างมีความสุข มั่นคงและยั่งยืน

2) ความสำคัญของหลักสูตร

พัฒนาและอบรมความรู้รวมทั้งสร้างบัณฑิตด้านพุทธศาสตร์ในมิติการบูรณาการกับศาสตร์ สมัยใหม่ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีประสิทธิภาพ

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้

1.3.1 เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ความสามารถในการวางแผนพัฒาตน พัฒนาคน พัฒนางาน ใน องค์กรด้วยการประยุกต์ใช้หลักพุทธศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1.3.2 เพื่อให้บัณฑิตมีความคิดวิเคราะห์ ริเริ่มสร้างสรรค์และมีภาวะผู้นำในการน ำความรู้ไป บูรณาการกับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองตามแนวพุทธศาสตร์

1.3.3 เพื่อให้บัณฑิตมีทักษะในการวิจัย พัฒนาองค์ความรู้ และสร้างนวัตกรรมที่เหมาะสมใน ศตวรรษที่ 21 ด้วยการประยุกต์ใช้หลักพุทธศาสตร์

1.4 รหัสหลักสูตร 25491861110441

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
ปีการศึกษา 2563

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาการ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ไม่รับการประเมิน
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
0.00
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
4
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
4
3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
4
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.00
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
4
3
4.2 คุณภาพอาจารย์
4
3.33
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.44
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
4
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
4
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
4
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.75
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (11 ตัวบ่งชี้)
3.48
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2563
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 0 - - - - -
3 3 3.00 - - 3.00 ปานกลาง
4 3 3.44 - - 3.44 ดี
5 4 4.00 3.67 - 3.75 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 11 3.33 3.75 - 3.48 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี - ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

จุดเด่น 

1.หลักสูตรมีกระบวนการรับนักศึกษา และมีทุนส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา

จุดที่ควรพัฒนา

1 การจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนานักศึกษาในศตวรรษที่ 21 ควรจัดอย่างต่อเนื่องทุกๆ ปี เป็นทักษะเสริมนอกเหนือจากรายวิชาในหลักสูตร

2 ควรมีเว๊ปไซต์ช่องทางการร้องเรียนต่าง ๆ ให้ชัดเจนเป็นระบบมากยิ่งขึ้น

 

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

จุดที่ควรพัฒนา

1.ควรส่งเสริมอาจารย์ทำผลงานทางวิชาการ บทความวิชาการ อย่างต่อเนื่อง

2.ควรส่งเสริมอาจารย์ที่มีคุณสมบัติเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ 

 

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

จุดที่ควรพัฒนา

1. ปรับการเขียน มคอ.3 และ มคอ. 5 ให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ปัจจุบัน

2. ควรเชิญวิทยากรพิเศษ รวมกับอาจารย์ประจำหลักสูตร เพื่อเพิ่มความหลากหลายของวิชาการ

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
-
สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์
ภาพถ่าย