Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2563

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)


บทสรุปผู้บริหาร

 จากผลการดำเนินงานของหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค 2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง 3.40 มีคุณภาพอยู่ใน ระดับคุณภาพดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้

        องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา มีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่าน

        องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา การผลิตบัณฑิตหรือการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรมมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้มีคุณภาพอยู่
ในระดับดีมาก เท่ากับ 4.85

        องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา นักศึกษา ระบบการประกันคุณภาพนักศึกษา ต้องให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษาและการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเท่ากับ 2.67

        องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนามีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้อยู่ในระดับดี มีค่าเท่ากับ 3.19

        องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียน การสอน การประเมินผู้เรียน คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง  ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้อยู่ในระดับดี มีค่าเท่ากับ 3.50

        องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 นี้อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเท่ากับ 3.00

 

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)

2) ชื่อปริญญา ศษ.บ. (การสอนภาษาไทย)

3) สาขาวิชาการสอนภาษาไทย

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตล้านนา

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถจัดการศึกษาด้านภาษาไทยได้อย่างมีคุณภาพ โดยบูรณาการความรู้ทางด้านพระพุทธศาสนาและมีทักษะการถ่ายทอดความรู้ การค้นคว้าวิจัย เพื่อแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีที่สอดคล้องกับผู้เรียน สภาพสังคม วัฒนธรรมและวิถีการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 พร้อมทั้งยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพครู และมีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาสังคม

2) ความสำคัญของหลักสูตร

ภาษาไทยเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการแสวงหาความรู้สรรพวิชาอื่น ๆ อีกทั้งเป็นเครื่องมือสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเองและสังคมในการประกอบอาชีพ และการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นไป

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะนี้

1.3.1 มีความรู้ความเข้าใจสาระความรู้และการบูรณาการความรู้ภาษาไทย ทั้งความรู้ทางหลักภาษาวรรณคดี วัฒนธรรมไทย มีทักษะในการใช้ภาษาไทยได้อย่างดี สามารถประยุกต์ใช้พุทธวิทยาการศึกษากับวิทยาการการสอนภาษาไทยและศาสตร์การสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1.3.2 มีทักษะการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยได้อย่างมีคุณภาพ และพัฒนาองค์ความรู้ด้านภาษาไทยเพื่อใช้ถ่ายทอดความรู้สู่ผู้เรียนและสังคม บรูณาการศาสตร์ภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะแห่งการเรียนรู้ การสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษ  ที่21

1.3.3 มีอุดมการณ์และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพครู มีบุคลิกภาพและคุณลักษณะความเป็นครูที่ดีและมีความรู้ที่ดีและมีความรู้ทางด้านพระพุทธศาสนาในหลักสูตรธรรมศึกษา รวมทั้งมีศักยภาพที่จะพัฒนางานในสาขาวิชาชีพให้มีความเจริญก้าวหน้า สามารถใช้ความรู้และประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพครูในการแก้ปัญหาการทำงานได้

1.4 รหัสหลักสูตร 25491861105467

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
ปีการศึกษา 2563

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาชีพ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติการ (วิชาชีพ)
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
4
4.76
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
5
4.93
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
4.85
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
4
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
4
3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
4
2
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
2.67
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
4
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
4
1.56
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.19
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
4
3
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
4
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
4
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.50
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
3.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้)
3.40
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2563
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 2 - - 4.85 4.85 ดีมาก
3 3 2.67 - - 2.67 ปานกลาง
4 3 3.19 - - 3.19 ดี
5 4 3.00 3.67 - 3.50 ดี
6 1 - 3.00 - 3.00 ปานกลาง
รวม 13 2.94 3.50 4.85 3.40 ดี
ผลการประเมิน ปานกลาง ดี ดีมาก ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
-
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
-
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
-
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
-
สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)

จุดเด่น

บัณฑิตมีอัตราการได้งานทำที่สูงและมีคะแนนความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตในระดับสูง สะท้อนให้เห็นคุณภาพด้านการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร

 

จุดที่ควรพัฒนา

1. หลักสูตรควรทบทวนผลลัพธ์และเป้าหมายการดำเนินงานเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ ให้สอดคล้องกับกระบวนการทำงาน และปรัชญาของหลักสูตร

2. หลักสูตรควรส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีผลงานทางวิชาการเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง โดยควรเป็นผลงานทางวิชาการที่สัมพันธ์กับสาขาวิชา และเป็นผลงานที่สามารถพัฒนาเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการได้

3. หลักสูตรควรวิเคราะห์อัตราการคงอยู่ อัตราการสำเร็จการศึกษา และ อัตราความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีแนวโน้มไม่ดีขึ้น เพื่อนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานให้มีแนวโน้มที่ดีขึ้นทุกเรื่อง

 

 

บทสัมภาษณ์
ภาพถ่าย