Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2563

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย


บทสรุปผู้บริหาร
จากผลการดำเนินงานของหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด ในรอบปีการศึกษา 2563 (1 มิถุนายน 2563 - 31 พฤษภาคม 2564) ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค.2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนเฉลี่ยของทุกตัวบ่งชี้ในองค์ประกอบที่ 2-6 เท่ากับคะแนนเฉลี่ย 3.85 มีคุณภาพอยู่ระดับดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานโดยรวมทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้
 
        องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์ ได้บริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่ สกอ. กำหนด อาจารย์ประจำหลักสูตรได้ปฏิบัติหน้าที่เต็มตามกรอบภาระงานและได้ร่วมกันปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพ.ศ. 2559 (ฉบับปรับปรุง) และหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (4 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) ให้มีความทันสมัย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าทางวิชาการการบริหารจัดการหลักสูตรของสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยดังกล่าวเป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติทุกประการ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 1 ได้ผ่านการประเมิน และผลการประเมินหลักสูตรได้มาตรฐาน
 
        องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ได้จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มาตั้งแต่ พ.ศ. 2554-ปัจจุบัน มีบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 14 คน ซึ่งผลการใช้หลักสูตรในปีการศึกษา 2563 จากการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 ได้คะแนนเฉลี่ย 4.93 ซึ่งมีระดับระดับดีมาก
 
        องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ได้ให้ความสำคัญกับการรับนักศึกษาและคัดเลือกนักศึกษา โดยได้วางแผน ดำเนินการอย่างเป็นระบบ และก่อนเข้าเรียนในสถานศึกษาหลักสูตรสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ได้มีการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาก่อนเข้าศึกษา โดยการปฐมนิเทศ และการอบรมเตรียมความพร้อมในด้านภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ทักษะชีวิต ฯลฯ ที่จำเป็นต่อการเรียนในมหาวิทยาลัย ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 ได้คะแนนเฉลี่ย 3.33 ซึ่งมีระดับระดับดี

 

        องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ได้มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์อย่างเป็นระบบ มีการประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรอยู่เสมอ เพื่อวางแผนปรับปรุงพัฒนางานและดูแลหลักสูตรให้มีคุณภาพ นอกจากนี้ได้มีการส่งเสริม และพัฒนาอาจารย์ โดยให้ไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น นอกจากนี้ยังให้ไปศึกษาดูงาน อบรม ประชุม ฯลฯ อย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 ได้คะแนนเฉลี่ย 3.41 ซึ่งมีระดับระดับปานกลาง
 
        องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้มีความทันสมัย เป็นไปตามกรอบมาตรฐานของ สกอ. มีการมอบหมายรายวิชาที่สอนให้ตรงกับความเชี่ยวชาญของอาจารย์ผู้สอน มีการประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและเป็นไปตามสภาพจริง เพื่อให้มีความสอดคล้องตามผลการเรียนรู้ของหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 ได้คะแนนเฉลี่ย 4.00 ซึ่งมีระดับดี
 
        องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
ได้ดำเนินการจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ เช่น แหล่งเรียนรู้ เอกสาร ตำรา งานวิจัย ฯลฯ ให้มีเพิ่มขึ้นทุกปี ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังได้มีการสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาให้มีคุณภาพยิ่งขึ้นในทุกปีการศึกษาผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 ได้คะแนนเฉลี่ย 4.00 ซึ่งมีระดับดี
บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย

2) ชื่อปริญญา Bachelor of Education Program in Early Childhood Education

3) สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตร้อยเอ็ด

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

      หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในด้านการสอน มีการบูรณาการศาสตร์การสอนกับแนวทางพระพุทธศาสนา ปฏิบัติหน้าที่ความเป็นครูผู้สอนวิทยาการเฉพาะสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยกับการสอนพระพุทธศาสนา โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นบัณฑิตที่มีความสามารถ (Capability) ดำเนินชีวิตด้วยปัญญาบนพื้นฐานหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นบัณฑิตที่มีความรอบรู้ทางด้านการศึกษาปฐมวัย กล้าคิด กล้าทำ กล้าวิพากษ์อย่างมีเหตุผล มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณสำหรับครู

2) ความสำคัญของหลักสูตร

     ปัจจุบันอาชีพครูถือว่าเป็นอาชีพที่มีความสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะครูปฐมวัยทั้งนี้เพราะมีบทบาทสำคัญในการปลูกฝังและพัฒนาเด็กตั้งแต่อายุ 3-6 ปี ให้เจริญเติบโตเป็นพลเมืองที่ดี และมีคุณภาพในอนาคต ดังนั้น หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาคน เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าสอดคล้องตามเจตนารมณ์ของแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนมี คุณลักษณะ ดังนี้

    1. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจในด้านการสอนเด็กปฐมวัยและสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    2. มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาหลักสูตรด้านการศึกษาปฐมวัย สามารถประยุกต์หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนากับการดำรงชีวิตที่เหมาะสม

    3. มีการตระหนักและเห็นความสำคัญในแนวทางการจัดการศึกษาปฐมวัยตามหลักสูตร การปฏิรูปการศึกษาและการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21

     4. มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาชีพครู ตลอดจนมีจิตสำนึกในความเป็นครูที่มีความพร้อมที่จะประกอบวิชาชีพ และเป็นไปตามสมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพ

     5. มีความเป็นผู้นำ ผู้ตาม และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีมนุษยสัมพันธ์และสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติหน้าที่ครู ได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน

1.4 รหัสหลักสูตร 25491861105478

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
ปีการศึกษา 2563

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาชีพ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติการ (วิชาชีพ)
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
4
4.86
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
5
5.00
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
4.93
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
4
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
4
4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
4
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.33
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
4
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
4
2.22
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.41
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
4
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
4
4
5.3 การประเมินผู้เรียน
4
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
4.00
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้)
3.85
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2563
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 2 - - 4.93 4.93 ดีมาก
3 3 3.33 - - 3.33 ดี
4 3 3.41 - - 3.41 ดี
5 4 4.00 4.00 - 4.00 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 13 3.46 4.00 4.93 3.85 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี ดีมาก ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

พัฒนาให้อาจารย์ประจำหลักสูตรมีผลงานทางวิชาการที่ตีพิมพ์อย่างต่อเนื่องในทุกปี ทุกท่าน

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

 

1.1 เพิ่มการประชาสัมพันธ์ผลงานของหลักสูตร ความรู้ความสามารถของอาจารย์ และความสำเร็จของนักศึกษาที่ผ่านมา

1.2 ปรับเปลี่ยนแผนการรับนักศึกษา โดยการรับรอบแรกควรรับนักศึกษาให้มากขึ้น เพิ่มจำนวนโควต้านักศึกษาให้กับโรงเรียนเครือข่ายเพิ่มขึ้น

1.3 ควรเพิ่มคุณสมบัติของกลุ่มนักศึกษาเพิ่มเติม เช่น กลุ่มกิจกรรมดี กลุ่มเรียนดี กลุ่มคนดี กลุ่มจิตอาสา เป็นต้น

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

เพิ่มเติมแผนการบริหารอาจารย์และการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ เพื่อสร้างเป้าหมายในการดำเนินงานที่หลักสูตรสามารถดำเนินการบรรลุเป้าหมายได้ เช่น การยื่นขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการอย่างน้อย 1 ท่าน การเข้ารับการอบรมในการพัฒนาทักษะของอาจารย์อย่างน้อยปีละกี่ครั้ง  และการสะท้อนผลจาการอบรมว่านำมาพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างไร เกิดผลอย่างไร โดยกำหนดช่วงเวลาที่ชัดเจนของอาจารย์แต่ละท่านอย่างต่อเนื่อง

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

การตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยการกำหนดกิจกรรมเช่นทวนผลสัมฤทธิ์ ที่มีความชัดเจนขึ้น

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
-
สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์
ภาพถ่าย