Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2563

หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา


บทสรุปผู้บริหาร

 จากผลการดำเนินงานของหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด                                                                   ในรอบปีการศึกษา 2563 ( มิถุนายน 2563–พฤษภาคม 2564) ได้คะแนนการประเมินตนเองในภาพรวมเฉลี่ย 3.87 มีคุณภาพอยู่ในระดับ...ดี...เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ  มีผลการประเมินทั้ง องค์ประกอบ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน หลักสูตร ฯ ได้ดำเนินงานด้านการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่กำหนด โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สกอ.)  มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้ คือ ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิตหลักสูตร ฯ ได้ดำเนินงานด้านคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และด้านผลงานวิจัยของผู้สำเร็จการศึกษา  มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 ระดับคุณภาพดี
องค์ประกอบที่ นักศึกษา หลักสูตร ฯ ได้ดำเนินงานด้านการรับนักศึกษา ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา และด้านผลที่เกิดขึ้นกับนักศึกษา มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
องค์ประกอบที่ 4  อาจารย์หลักสูตร ฯ  ได้ดำเนินงานด้านการบริหารและพัฒนาอาจารย์ ด้านคุณภาพอาจารย์และด้านผลที่เกิดกับอาจารย์  มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.78 ระดับคุณภาพดี
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน หลักสูตร ฯ ได้ดำเนินงานด้านสาระของรายวิชาในหลักสูตร ด้านการวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน ด้านการประเมินผู้เรียน และด้านผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ  มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 ระดับคุณภาพดีมาก
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ หลักสูตร ฯ  ได้ดำเนินงานด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้ โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 ระดับคุณภาพดี

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

2) ชื่อปริญญา ศษ.ม. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) Master of Education (Educational Administration)

3) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (โท)

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตร้อยเอ็ด

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

มุ่งผลิตมหาบัณฑิตทางการบริหารการศึกษาให้เป็นนักวิชาการและนักวิชาชีพ ให้มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการสร้างและประยุกต์ใช้ความรู้ใหม่ตามศาสตร์ในสาขาวิชาการบริหารการศึกษาและฐานพระพุทธศาสนา (Buddhism-based)  ซึ่งมีความสำคัญในแง่ของการพัฒนางานสังคม และประเทศชาติ  มีมาตรฐานวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ

2) ความสำคัญของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา เป็นหลักสูตรที่มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาของชาติ  ปรัชญาของการอุดมศึกษา ปรัชญาของสถาบันอุดมศึกษา และปรัชญาของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  มุ่งผลิตมหาบัณฑิตทางการบริหารการศึกษาให้เป็นนักวิชาการและนักวิชาชีพ ให้มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการสร้างและประยุกต์ใช้ความรู้ใหม่ตามศาสตร์ในสาขาวิชาการบริหารการศึกษาและฐานพระพุทธศาสนา(Buddhism-based)  ซึ่งมีความสำคัญในแง่ของการพัฒนางานสังคม และประเทศชาติ  มีมาตรฐานวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตให้มีคุณสมบัติ ดังนี้

1.2.1  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ  สามารถปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีจิตสํานึกสาธารณะและเสียสละให้สังคม และปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ

1.2.2 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพ มีอุดมการณ์ของผู้บริหารและแนวทางการพัฒนาเป็นผู้บริหารมืออาชีพ และสามารถศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาวิชาชีพ

1.2.3 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นผู้นําทางวิชาการ ผู้นำแบบพุทธ สามารถระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา และสามารถบริหารการศึกษาและสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและท้องถิ่น

1.2.4 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษา หลักธรรมสำหรับการบริหารสถานศึกษา สามารถกำหนด นโยบาย  แผนกลยุทธ์ และนําไปสู่การปฏิบัติให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา สามารถเลือกใช้ทฤษฎี หลักการ และกระบวนการบริหารให้สอดคล้องกับบริบทมหภาคและภูมิสังคม และสามารถบริหารงานวิชาการ บริหารแหล่งเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้

1.2.5 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตร การสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้  สามารถพัฒนาหลักสูตรและบริหารการจัดการเรียนการสอนในแนวทางใหม่ได้ และสามารถปฏิบัติการประเมิน และปรับปรุงการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้

1.2.6 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจการและกิจกรรมนักเรียน  สามารถบริหารจัดการให้เกิดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การดูแลช่วยเหลือผู้เรียน  และสามารถส่งเสริมวินัย คุณธรรม จริยธรรม และความสามัคคีในหมู่คณะ

1.2,7 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา  สามารถจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาเพื่อรองรับการประเมินภายนอก และนําผลการประกันคุณภาพการศึกษาไปใช้เพื่อพัฒนาสถานศึกษา

1.4 รหัสหลักสูตร 25481861109189

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
ปีการศึกษา 2563

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 3 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งศาสตราจารย์ขึ้นไป และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร มีอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติขั้นต่ำปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไป มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน หรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง คุณสมบัติของอาจารย์พิเศษ (ถ้ามี) มีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง มีชั่วโมงสอนไม่เกินร้อยละ 50 ของรายวิชา โดยมีอาจารย์ประจำเป็นผู้รับผิดชอบรายวิชานั้น

ผ่าน
5. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ ต้องเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
6. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ต้องมีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
7. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์

อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย อาจารย์ประจำหลักสูตร และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกไม่น้อยกว่า 5 คน ประธานผู้สอบวิทยานิพนธ์ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก

อาจารย์ประจำหลักสูตร ต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่าและมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติ ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระไม่น้อยกว่า 10 เรื่อง หากไม่มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์ตามที่กำหนดจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงเป็นที่ยอมรับซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ โดยผ่านการเห็นชอบของสภาสถาบันและแจ้ง กกอ ทราบ

ผ่าน
8. การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา

การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา กรณี แผน ก1 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. กรณี แผน ก2 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. หรือ นำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการ (proceedings) กรณี แผน ข รายงานการค้นคว้าหรือส่วนหนึ่งของการค้นคว้าอิสระต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้

ผ่าน
9. ภาระงานอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา

วิทยานิพนธ์ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 5 คน

การค้นคว้าอิสระ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 15 คน

หากอาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอกและมีตำแหน่งทางวิชาการหรือปริญญาโท และมีตำแหน่งทางวิชาการระดับรองศาสตราจารย์ขึ้นไป 1 คนต่อนักศึกษา 10 คน หากเป็นที่ปรึกษาทั้ง 2 ประเภทให้เทียบสัดส่วนนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ 1 คนเทียบเท่ากับนักศึกษาที่ค้นคว้าอิสระ 3 คน

ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
4
4.70
2.2 ผลงานของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่
5
4.29
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
4.50
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
4
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
4
3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
4
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.00
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
4
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
4
3.33
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.78
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
4
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
4
4
5.3 การประเมินผู้เรียน
4
4
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
4.25
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้)
3.87
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2563
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 2 - - 4.50 4.50 ดีมาก
3 3 3.00 - - 3.00 ปานกลาง
4 3 3.78 - - 3.78 ดี
5 4 4.00 4.33 - 4.25 ดีมาก
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 13 3.48 4.25 4.50 3.87 ดี
ผลการประเมิน ดี ดีมาก ดีมาก ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

จุดที่ควรพัฒนา

1. พัฒนาผลงานวิชาการอาจารย์ให้มีค่าที่สูงขึ้น

2. ปรับวิธีการเขียนผลงานวิชาการให้เป็นในลักษณะ APA

3.อาจารย์ประจำหลักสูตรควรมีผลงานวิจัยที่เป็นของตนเองเพื่อใช้ในการขอตำแหน่งทางวิชาการ

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

จุดที่ควรพัฒนา

1 ควรกำกับให้นักศึกษาจบเป็นไปตามเกณฑ์ และมีการตีพิมพ์เผลแพร่ผลงาน ที่สูงขึ้น

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
-
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

จุดที่ควรพัฒนา

1 ส่งเสริมให้อาจารย์ประจำหลักสูตรมีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง

2 ส่งเสริมให้อาจารย์ประจำหลักสูตรเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชการ

3 บริหารอาจารย์ให้เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษา

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

จุดที่ควรพัฒนา

 1 หลักสูตรควรนำมคอ2 มาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการหลักสูตร

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
-
สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์
ภาพถ่าย