Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2562

หลักสูตรศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา


บทสรุปผู้บริหาร

หลักสูตรศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ได้รับการอนุมัติให้เปิดดำเนินการเรียนการสอนในปี พ.ศ. 2559 โดยคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2561 เป็นหลักสูตรที่ได้รับการพัฒนา เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของประเทศและโลกปัจจุบัน หลักสูตรศาสนศาสตร มหาบัณฑิต (สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการจัดการเรียน  การสอนในระดับปริญญาโท  หลักสูตร 2 ปี จัดการเรียนการสอนในระบบทวิภาค ได้เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2555 ปัจจุบันมีนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ จำนวน 39  รูป/คน อาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวน 5 รูป/คน หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต   ได้พัฒนาระบบบริหารและงานประกันคุณภาพการศึกษามาอย่างต่อเนื่องตามระบบประกันคุณภาพของสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) โดยมีระบบกลไก ตามกระบวนการควบคุม การติดตาม และการประเมินผลคุณภาพ ซึ่งได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพ ระดับหลักสูตร โดยใช้คู่มือการประกันคุณภาพในระดับคณะ ที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง เพื่อรองรับการตรวจประเมินคุณภาพภายในและภายนอก   

สรุปผลการประเมินตนเอง

                หลักสูตรศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ได้ประเมินตนเองในปีการศึกษา 2562 ) ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ  (เฉพาะตัวบ่งชี้ของ สกอ. ที่ขอรับการตรวจประเมิน)    การบรรลุเป้าหมายจากการประเมินตนเอง หลักสูตรศาสนศาสตรมหาบัณฑิตมีผลการดําเนินงานบรรลุ  ตัวบ่งชี้ มีผลการประเมินหลักสูตร รวม 3.77 ระดับดี

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา คณะศาสนาและปรัชญามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา  มีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่าน

            องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา การผลิตบัณฑิตหรือการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2  คะแนนเฉลี่ย 4.66 มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา คณะศาสนาและปรัชญา  มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา  นักศึกษา ระบบการประกันคุณภาพนักศึกษา ต้องให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษา และการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 คะแนนเฉลี่ย มีคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง

            องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา คณะศาสนาและปรัชญามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา  มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 ะแนนเฉลี่ย 4.24 มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก

            องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่องผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 ะแนนเฉลี่ย 3.50  มีคุณภาพอยู่ในระดับดี

            องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 ะแนนเฉลี่ย 3.00 มีคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา

2) ชื่อปริญญา ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (พุทธศาสนาและปรัชญา)

3) สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา (โท)

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตล้านนา

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

          “พัฒนามนุษย์ตามแนวพุทธปรัชญา ศึกษา ค้นคว้า วิจัย  ให้บริการความรู้สู่สังคม โดยมุ่งเน้นส่งเสริมผลิตมหาบัณฑิตทางด้านพระพุทธศาสนา ให้มีความรู้ คุณธรรม จริยธรรม ทฤษฏีและปฏิบัติ มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นอย่างมีความสุข”

2) ความสำคัญของหลักสูตร

มีความสำคัญต่อการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาทั้งระบบเพราะต้องการพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้คู่คุณธรรม สอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยคือ ความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา และสอดคล้องกับปรัชญาของบัณฑิตวิทยาลัย คือ ส่งเสริมศึกษา ค้นคว้าวิจัย เพื่อองค์ความรู้คู่คุณธรรม

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1  ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ทางด้านพระพุทธศาสนา มีความรู้ มีคุณธรรม

  2  ผลิตบัณฑิตให้มีความเข้าใจหลักพุทธศาสนา ปรับใช้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน

  3  ผลิตบัณฑิตให้มีความเข้าใจแก่นแท้ของพุทธศาสนา ใช้ปัญญาวิเคราะห์ด้วยหลักเหตุและผล

  4  ผลิตบัณฑิต ให้ทำงานเป็นกลุ่ม มีภาวะผู้นำ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

  5  ผลิตบัณฑิตสามารถใช้ความรู้ ความสามารถในการเผยแพร่หลักธรรมพุทธศาสนา

 

 

 

1.4 รหัสหลักสูตร 25481861109191

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
ปีการศึกษา 2562

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 3 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งศาสตราจารย์ขึ้นไป และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร มีอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติขั้นต่ำปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไป มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน หรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง คุณสมบัติของอาจารย์พิเศษ (ถ้ามี) มีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง มีชั่วโมงสอนไม่เกินร้อยละ 50 ของรายวิชา โดยมีอาจารย์ประจำเป็นผู้รับผิดชอบรายวิชานั้น

ผ่าน
5. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ ต้องเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
6. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ต้องมีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
7. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์

อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย อาจารย์ประจำหลักสูตร และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกไม่น้อยกว่า 5 คน ประธานผู้สอบวิทยานิพนธ์ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก

อาจารย์ประจำหลักสูตร ต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่าและมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติ ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระไม่น้อยกว่า 10 เรื่อง หากไม่มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์ตามที่กำหนดจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงเป็นที่ยอมรับซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ โดยผ่านการเห็นชอบของสภาสถาบันและแจ้ง กกอ ทราบ

ผ่าน
8. การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา

การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา กรณี แผน ก1 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. กรณี แผน ก2 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. หรือ นำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการ (proceedings) กรณี แผน ข รายงานการค้นคว้าหรือส่วนหนึ่งของการค้นคว้าอิสระต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้

ผ่าน
9. ภาระงานอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา

วิทยานิพนธ์ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 5 คน

การค้นคว้าอิสระ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 15 คน

หากอาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอกและมีตำแหน่งทางวิชาการหรือปริญญาโท และมีตำแหน่งทางวิชาการระดับรองศาสตราจารย์ขึ้นไป 1 คนต่อนักศึกษา 10 คน หากเป็นที่ปรึกษาทั้ง 2 ประเภทให้เทียบสัดส่วนนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ 1 คนเทียบเท่ากับนักศึกษาที่ค้นคว้าอิสระ 3 คน

ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
4
4.32
2.2 ผลงานของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่
4
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
4.66
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
4
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
4
3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
4
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.00
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
4
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
4.72
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
4
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.24
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
4
3
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
4
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
4
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
4
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.50
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
3.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้)
3.70
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2562
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 หลักสูตร
2 Logo 2 - - 4.66 4.66 ดีมาก
3 3 3.00 - - 3.00 ปานกลาง
4 3 4.24 - - 4.24 ดีมาก
5 4 3.00 3.67 - 3.50 ดี
6 1 - 3.00 - 3.00 ปานกลาง
รวม 13 3.53 3.50 4.66 3.70 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี ดีมาก ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

จุดแข่ง

1.อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีผลงานทางวิชาการที่เพิ่มมากขึ้นในฐานที่สูง

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

จุดเด่น

บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาได้รับการตีพิมพ์ผลงานในฐาน (TCI) ฐาน 1

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

1.หลักสูตรควรกำกับติดตามอัตราคงอยู่นักศึกษาให้คงอยู่ตลอดหลักสูตร

2.ปรับกลยุทธ์ในการแนะแนว การรับนักศึกษา

3.การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาควรครอบคลุมทักษะในการเรียนรู้ให้ครบทุกด้าน

4.กำหนดตัวชี้วัดให้ชัดเจนเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามกระบวนการ (PDCA)

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

ส่งเสริมผลักดันให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรดำรงตำแหน่งทางวิชาการ

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

วิเคราะห์สาระรายวิชาในหลักสูตรเพื่อปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์นั้น ๆ

 

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์
ภาพถ่าย