Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2562

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ


บทสรุปผู้บริหาร

จากผลการดำเนินงานของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ  มหาวิทยาลัยมหา มกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง 3.18 มีคุณภาพอยู่ในระดับดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้

          องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน ของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่าน

            องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต ของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย การผลิตบัณฑิตหรือการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้เท่ากับ 4.40 ระดับคุณภาพดีมาก

           องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา ของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย นักศึกษา ระบบการประกันคุณภาพนักศึกษา ต้องให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษาและการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ 3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง

          องค์ประกอบที่ 4  อาจารย์ ของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 3.33 ระดับคุณภาพดี

            องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน ของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ  คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ 2.63 ระดับคุณภาพปานกลาง

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 นี้เท่ากับ 3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

2) ชื่อปริญญา ชื่อเต็มภาษาไทย : ศิลปศาสตรบัณฑิต(ภาษาอังกฤษ) ชื่อย่อภาษาไทย : ศศ.บ.(ภาษาอังกฤษ) ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Bachelor of Arts (English) ชื่อย่อ : B.A.(English)

3) สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด คณะมนุษยศาสตร์

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เลขที่ 248 หมู่ที่ 1  บ้านสุวรรณ ถ.ศาลายา-นครชัยศรี ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

ผลิตบัณฑิตที่มีความรอบรู้ ทางด้านภาษาอังกฤษ กล้าแสดงออกอย่างมีเหตุผล เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลธรรม คุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณ

2) ความสำคัญของหลักสูตร

ด้วยปัจจัยสำคัญของกระแสการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม คณะมนุษยศาสตร์ ภาควิชาภาษาตะวันตก มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จึงได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ให้มีความทันสมัย รองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกด้านการติดต่อสื่อสาร เศรษฐกิจ สังคม และตลาดแรงงานในปัจจุบันและอนาคต ที่นักศึกษาสามารถเลือกเรียนได้ตามความสนใจ ได้แก่ กลุ่มรายวิชาที่สัมพันธ์กับรายวิชาที่เน้นความรู้ทางด้านการติดต่อสื่อสาร เป็นต้น การเรียนการสอนในหลักสูตรมุ่งเน้นการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ สอดแทรกความเป็นคนดี มีศีลธรรม คุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณ เพื่อให้ได้บุคลากรที่มีคุณภาพ มีความสามารถในการประกอบอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญของประเทศต่อไป

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถทางด้านการใช้ภาษาอังกฤษ เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรมของไทยทั้งในและนอกประเทศ
  2. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถในการนำความรู้ด้านภาษาอังกฤษไปใช้ในการประกอบอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ทั้งในภาครัฐและเอกชน
  4. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีศีลธรรม คุณธรรมจริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม

1.4 รหัสหลักสูตร 25491861105502

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
คณะมนุษยศาสตร์
ปีการศึกษา 2562

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาการ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
4
3.79
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
4
5.00
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
4.40
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
4
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
4
3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
4
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.00
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
4
3
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
3.00
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
4
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.33
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
4
2
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
4
2
5.3 การประเมินผู้เรียน
4
2
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
4
4.5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
2.63
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
3.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้)
3.18
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2562
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 2 - - 4.40 4.40 ดีมาก
3 3 3.00 - - 3.00 ปานกลาง
4 3 3.33 - - 3.33 ดี
5 4 2.00 2.83 - 2.63 ปานกลาง
6 1 - 3.00 - 3.00 ปานกลาง
รวม 13 3.00 2.88 4.40 3.18 ดี
ผลการประเมิน ปานกลาง ปานกลาง ดีมาก ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

หลักสูตรควรส่งเสริมสนับสนุนให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรจัดทำผลงานวิชาการ และตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

1. หลักสูตรควรนำผลการประเมินคุณภาพบัณฑิตมากำหนดเป็นแนวทางในการพัฒนาเนื้อหารายวิชาในหลักสูตร กลยุทธืการเรียนการสอน และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพของนักศึกษา เช่น กำหนดให้มีกิจกรรมที่พัฒนาทักษะทางปัญญา พัฒนาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และพัฒนาทักษะเชิงตัวเลข การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น

2. หลักสูตรควรนำผลการสำรวจภาวะการมำงานทำของบัณฑิต โดยเฉพาะบัณฑิตที่เป็นคฤหัสถ์มาดำเนินการวิเคราะห์ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต และการพัฒนาหลักสูตรต่อไป เช่น การได้งานทำตรง-ไม่ตรงสาขา การได้เงินเดือนตรง-ไม่ตรงตามวุฒิ ตำแหน่งและหน่วยงานที่บัณฑิตไปทำงาน เป็นต้น

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

1. ในการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา ไม่ควรประเมินแต่ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเตรียมความพร้อม แต่ควรมีการประเมินด้วยว่าการเตรียมความพร้อมที่ดำเนินการอยู่นั้นว่าส่งผลอย่างไรต่อผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของนักศึกษา โดยอาจดูผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของนศ.เมื่อสิ้นภาคการศึกษาแรก เปรียบเทียบกับนศงรุ่นก่อนหน้า เพื่อจะได้ทราบว่าการเตรียมความพร้อมในแต่ละปีให้ผลสำเร็จอย่างไร

2. ในการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา หลักสูตรควรดำเนินการดังนี้

    - กำหนดเป้าหมายของการพัฒนาศักยภาพนศ.ให้ชัดเจน เป็นรูปธรรม เช่น จะพัฒนาทักษะการสื่อสารให้ได้ถึงระดับใด วัดจากอะไร เพื่อจะได้สามารถประเมินผลสำเร็จของการพัฒนานศ. และนำผลนั้นมาปรับปรุงการดำเนินงานในปีการศึกษาต่อไปได้

    - ควรกระจายการพัฒนาศักยภาพให้ทั่วถึงนศ.ทุกชั้นปี

    - นำผลจากการประเมินคุณภาพบัณฑิตมาร่วมพิจารณาในการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาด้วย เพื่อพัฒนาคุณภาพบัณฑิตให้สอดคล้องกับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต

    - เชื่อมโยงผลการพัฒนาศักยภาพนศ.ตามกลุ่มทักษะศตวรรษที่ 21 เพื่อให้เห็นชัดเจนว่ากิจกรรมต่าง ๆ พัฒนาศักยภาพ C21 ในด้านใดบ้าง

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

ในการบริหารและพัฒนาอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ทางหลักสูตรควรดำเนินการดังนี้

- จัดทำแผนบริหารความเสี่ยงในกรณีที่อาจเกิดการขาดแคลนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอย่างเร่งด่วน เช่น โอนย้าย ลาออก หรือเสียชีวิต จะมีผู้รับผิดชอบหลักสูตรพร้อมทดแทนได้โดยไม่ขาดตอนหรือไม่ มีการเตรียมการอย่างไร

- กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนในการพัฒนาอาจารย์ให้ครบถ้วนทุกด้าน ทั้งการพัฒนาคุณวุฒิ พัฒนาตำแหน่งทางวิชาการ การวิจัย การจัดทำและเผยแพร่ผลงานวิชาการตามเกณฑ์ก.พ.อ. การพัฒนาความเชี่ยวชาญทางวิชาการและวิชาชีพ ฯลฯ เพื่อให้สามารถวัดผลสำเร็จของการบริหารและพัฒนาอาจารย์ได้อย่างชัดเจน

- ส่งเสริมสนับสนุนให้อาจารย์ได้พัฒนาผลงานเพื่อตีพิมพ์ตามเกณฑ์การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการของก.พ.อ.

- วิเคราะห์สาเหตุของการไม่สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมาย ว่าเกิดจากส่วนใดของกระบวนการ เพื่อจะได้นำมาปรับปรุงในรอบการดำเนินงานต่อไป

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

1. หลักสูตรควรแสดงระบบ กลไก และผลการดำเนินงานในแต่ละตัวบ่งชี้ขององค์ประกอบที่ 5 ให้ชัดเจน รวมถึงการประเมินกระบวนการและการปรับปรุงกระบวนการตามผลการประเมิน

2. หลักสูตรควรมีการตรวจสอบมคอ. 3-6 ไม่เฉพาะในเชิงปริมาณ แต่ควรมุ่งเน้นการตรวจสอบเชิงคุณภาพให้มากขึ้น

3. หลักสูตรควรมีแผนในการบูรณาการการเรียนการสอน กับการวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้ชัดเจน รวมถึงการประเมินผลสำเร็จของการบูรณาการเมื่อดำเนินการเสร็จสิ้น

4. หลักสูตรควรแสดงกระบวนการทวนสอบและผลของการทวนสอบ ทั้งระดับรายวิชา และระดับหลักสูตรให้ชัดเจน เพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนในแต่ละภาคการศึกษา

5. หลักสูตรควรจัดทำแผนการทวนสอบรายวิชา เพื่อให้สามารถทวนสอบรายวิชาในหลักสูตรให้ได้ครบถ้วนเมื่อครบรอบการใช้งานหลักสูตร เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรในรอบต่อไป

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

1. หลักสูตรอาจเพิ่มเติมระบบกลไกในการจัดหาให้ได้มาซึ่งสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่ไม่ใช่เชิงกายภาพ และการประเมินความพึงพอใจของนศงและอาจารย์ เช่น ซอฟท์แวร์/ระบบการเรียนออนไลน์ เอกสารประกอบกาเรรียนการสอน สื่อนำเสนอ Social lab เครือข่ายความร่วมมือในการศึกษาดูงานหรือฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ฯลฯ เนื่องจากปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้ล้วนมีส่วนสนับสนุนการเรียนรู้ของนักศึกษาได้ทั้งสิ้น

2. หลักสูตรควรแยกการวิเคราะห์ผลการประเมินความพึงพอใจระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ เนื่องจากเป็นการประเมินจากพื้นฐานและมุมมองที่แตกต่างกัน หากนำผลมารวมกันจะวิเคราะห์ได้ไม่ถูกต้อง

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์
ภาพถ่าย