Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2562

หลักสูตรศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา


บทสรุปผู้บริหาร
 

      คณะกรรมการได้ดำเนินการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในหลักสูตรศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาเพื่อการพัฒนาองค์กรทุก ๆ ด้านให้มีประสิทธิภาพตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาหรือ สกอ. ได้กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการตามองค์ประกอบคุณภาพ 6 องค์ประกอบ ประกอบด้วย    ตัวบ่งชี้จำนวน 13 ตัวบ่งชี้โดยเป็นกลุ่มสถาบันที่เน้นระดับปริญญาตรีตัวบ่งชี้ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาจำนวน 13 ตัวบ่งชี้รายงานการประเมินตนเองฉบับนี้ปีการศึกษา 2562 วงรอบ 1 มิถุนายน พ.ศ.  2562 ถึง 31 พฤษภาคม 2563 มีการประเมินตามหลักเกณฑ์ของ สกอ. โดยคะแนนเต็ม 1-5 คะแนนทุกตัวบ่งชี้ ซึ่งผลการประเมินมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 0 - - - - -
3 3 3.00 - - 3.00 ปานกลาง
4 3 3.30 - - 3.30 ดี
5 4 4.00 3.67 - 3.75 ดี
6 1 - 3.00 - 3.00 ปานกลาง
รวม 11 3.27 3.50 - 3.35 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี - ดี ดี
บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา

2) ชื่อปริญญา ศาสนศาสตรบัณฑิต (ปรัชญา) ชื่อย่อ ศน.บ. (ปรัชญา) Bachelor of Arts (Philosophy) B.A. (Philosophy)

3) สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจในระบบปรัชญาต่าง ๆ มีความคิดสร้างสรรค์ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีวิจารณญาณ สามารถนำความรู้ที่ได้มาไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าแก่ชีวิตในทางที่ถูกต้องตลอดจนเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสังคมและตลาดงานปัจจุบัน โดยมีปรัชญาของหลักสูตรว่า มีความรู้คู่คุณธรรม มีจิตใจกว้างขวาง กล้าหาญ และเสียสละ บนพื้นฐานขององค์ความรู้ด้านปรัชญาเพื่อสนองความต้องการของโลกไร้พรมแดน

2) ความสำคัญของหลักสูตร

พัฒนาและอบรมความรู้รวมทั้งสร้างบัณฑิตด้านปรัชญาในมิติการบูรณาการสู่สังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง ศาสนา และวัฒนธรรม

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2559) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
1.3.1 เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้และความเข้าใจระบบปรัชญาต่าง ๆ อันได้แก่ ศาสนา ปรัชญา การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม ในบริบทการเปลี่ยนแปลงสังคมโลกสมัยใหม่อย่างถูกต้อง
1.3.2 เพื่อให้บัณฑิตมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ริเริ่มสร้างสรรค์ เข้าใจสถานการณ์ ปัญหาสังคม อย่างชัดเจนรอบด้าน โดยใช้ความรู้ในสาขาวิชาปรัชญาต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาในการทำงาน และสร้างความก้าวหน้าแก่ชีวิตในทิศทางที่ถูกต้อง
1.3.3 เพื่อให้บัณฑิตมีความคิดเปิดกว้างต่อโลกทัศน์ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีวิจารณญาณ
1.3.4 เพื่อให้บัณฑิตนำเอาหลักการและวิธีการทางปรัชญาไปประยุกต์ใช้ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและมีความสามารถในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงาน โดยสอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน

1.4 รหัสหลักสูตร 25491861105489

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร
ปีการศึกษา 2562

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาการ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ไม่รับการประเมิน
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
0.00
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
4
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
4
3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
4
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.00
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
4
3
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
3.89
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
4
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.30
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
4
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
4
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
4
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
4
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.75
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
3.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (11 ตัวบ่งชี้)
3.35
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2562
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 0 - - - - -
3 3 3.00 - - 3.00 ปานกลาง
4 3 3.30 - - 3.30 ดี
5 4 4.00 3.67 - 3.75 ดี
6 1 - 3.00 - 3.00 ปานกลาง
รวม 11 3.27 3.50 - 3.35 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี - ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

แนวทางส่งเสริมและพัฒนา

ควรวิเคราะห์สถานการณ์การรับนักศึกษา ในเรื่องของการคุ้มค่าตามแผนการรับนักศึกษาของหลักสูตร

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

แนวทางส่งเสริมและพัฒนา

ควรจัดทำแผนพัฒนาอาจารย์รายบุคคล (IDP) โดยมีการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนดในด้านหนังสือ ตำรา ผลงานวิจัย หรือบทความวิชาการ พร้อมกับส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ได้ตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานเหล่านี้ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

 

 

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

แนวทางส่งเสริมและพัฒนา

1.การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ควรมีผู้ทรงคุณวุฒิต่างสถาบันและรายวิชาที่ทวนผลสัมฤทธิ์ควรนำมาเฉพาะรายวิชาที่เป็นสาขาเอก (PH) 

2. ควรมีการกำหนดรายวิชาที่จะบูรณาการกับการวิจัย บริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ตั้งแต่ต้นปีการศึกษา

3. ควรมีการเผยแพร่หลักสูตร สาระของรายวิชาและรายละเอียดของหลักสูตรเพื่อประชาสัมพันธ์สื่ออนไลน์ในการจัดการเรียนการสอน

 

 

 

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

แนวทางส่งเสริมและพัฒนา

ควรจัดเตรียมสิ่งสนับสนุุนการเรียนรู้ เช่น อุปกรณ์สำรองไฟ (UPS) เพราะจากระบบไฟฟ้าเกิดการขัดข้องบ่อยครั้ง

ควรจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ของสาขาวิชาเพิ่มเติม เช่น ตำรา หนังสือ e-book 

หลักสูตรควรจัดอุปกรณ์การศึกษา เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องสแกน ไว้อำนวยความสะดวกให้กับอาจารย์และนักศึกษา

 

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์
ภาพถ่าย