Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2562

หลักสูตรศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา


บทสรุปผู้บริหาร

 จากผลการดำเนินงานของหลักสูตรศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค 2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง 3.14  มีคุณภาพอยู่ในระดับคุณภาพดี โดยมีรายละเอียด ผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้

         องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน คณะศาสนาและปรัชญา ภาควิชาปรัชญา สาขาวิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย มีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่าน

        องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต คณะศาสนาและปรัชญา ภาควิชาปรัชญา สาขาวิชาปรัชญา การผลิตบัณฑิตหรือการจัดเการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาและวิชาชีพ มีคุณลกษณะตามหลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้ เท่ากับ N/A ไม่รับการประเมิน

        องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา คณะศาสนาและปรัชญา ภาควิชาปรัชญา สาขาวิชาปรัชญา นักศึกษาระบบการประกันคุณภาพนักศึกษา ต้องให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษา และการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถ ตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้ เท่ากับ 3.00 ระดับปานกลาง

        องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ คณะศาสนาและปรัชญา ภาควิชาปรัชญา สาขาวิชาปรัชญา มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์ และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมิน ตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 2.52 ระดับปานกลาง

        องค์ประกอบที่ 5 การเรียนการสอนการประเมินผู้เรียน คณะศาสนาและปรัชญา ภาควิชาปรัชญา สาขาวิชาปรัชญา มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มี ประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ 3.75 ระดับคุณภาพดี

        องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ คณะศาสนาและปรัชญา ภาควิชาปรัชญา สาขาวิชาปรัชญา มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองใน องค์ประกอบที่ 6 นี้เท่ากับ 3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง

 

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา

2) ชื่อปริญญา ศาสนศาสตรบัณฑิต (ปรัชญา) Bachelor of Arts (Philosophy)

3) สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจในระบบปรัชญาต่างๆ มีความคิดสร้างสรรค์ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีวิจารณญาณ สามารถนำความรู้ที่ได้มาไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าแก่ชีวิตในทางที่ถูกต้องตลดจนเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสังคมและตลาดงานปัจจุบัน โดยมีปรัชญาของหลักสูตรว่า มีความรู้คู่คุณธรรม มีจิตใจกว้างขวาง กล้าหาญ และเสียสละบนพื้นฐานขององค์ความรู้ด้านปรัชญาเพื่อสนองความต้องการของโลกไร้พรมแดน

2) ความสำคัญของหลักสูตร

พัฒนาและอบรมความรู้รวมทั้งสร้างบัณฑิตด้านปรัชญาในมิติการบูรณาการสู่สังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง ศาสนา และวัฒนธรรม

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

           3.1 เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้และเข้าใจระบบปรัชญาต่างๆ อันได้แก่ ศาสนา ปรัชญา การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม ในบริบทการเปลี่ยนแปลงสังคมโลกสมัยใหม่อย่างถูกต้อง

           3.2 เพื่อให้บัณฑิตมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ริเริ่มสร้างสรรค์ เข้าใจสถานการณ์ ปัญหาสังคม อย่างชัดเจนรอบด้าน โดยใช้ความรู้ในสาขาวิชาปรัชญาต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาในการทำงาน และสร้างความก้าวหน้าแก่ชีวิตในทิศทางที่ถูกต้อง

           3.3 เพื่อให้บัณฑิตมีความคิดเปิดกว้างต่อโลกทัศน์ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีวิจารณญาณ

           3.4 เพื่อให้บัณฑิตนำเอาหลักการและวิธีการทางปรัชญาไปประยุกต์ใช้ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและมีความสามารถในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงาน โดยสอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน

1.4 รหัสหลักสูตร 25491861105489

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย
ปีการศึกษา 2562

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาการ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ไม่รับการประเมิน
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
0.00
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
4
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
4
3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
4
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.00
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
3
4.2 คุณภาพอาจารย์
4
1.56
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
4
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
2.52
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
4
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
4
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
4
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
4
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.75
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
3.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (11 ตัวบ่งชี้)
3.14
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2562
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 0 - - - - -
3 3 3.00 - - 3.00 ปานกลาง
4 3 2.52 - - 2.52 ปานกลาง
5 4 4.00 3.67 - 3.75 ดี
6 1 - 3.00 - 3.00 ปานกลาง
รวม 11 2.94 3.50 - 3.14 ดี
ผลการประเมิน ปานกลาง ดี - ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เพิ่มคำอธิบายชื่อหลักสูตรและสาขาวิชาการปรับปรุงหลักสูตร จากหลักสูตรเดิม พ.ศ. 2559 เป็นหลักสูตร พ.ศ.2562

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

ควรเพิ่มวันในการจัดการเตรียมความพร้อมสำหรับนักศึกษาและรายวิชาเฉพาะสาขาเพื่อให้นักศึกษามีความพร้อมในการเข้าศึกษาสาขาวิชาปรัชญา

เขียนกระบวนการ PDCA ให้สอดคล้องกับหัวข้อ

กรณีมีการจัดส่งเกรดล่าช้า ควรมีบทลงโทษสำหรับอาจารย์ที่ดำเนินการล่าช้า.

การบริหารเกณฑ์นักศึกษาการคงอยู่ การสำเร็จการศึกษา ให้เป็นไปตามเกณฑ์ มคอ.2 ที่กำหนดไว้

สภาพสาขาวิชาไม่น่าสนใจทางคณะกรรมการได้ให้ข้อเสนอแนะโดยเพิ่มประเเด็นมากขึ้นโดยเพิ่มประเด็นศาสนาและวัฒนธรรมเพื่อตอบโจทย์ในอาชีพสังคมไทย

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

1. ทางหลักสูตรควรได้มีการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการจำนวนที่มากขึัน  ทั้งนี้ต้องเป็นผลงานของแต่ละท่าน

2. หลักสูตรควรได้จัดทำขอความร่วมมือพื้นที่การเผยแพร่ผลงานทางวิชกาารจากวารสารของวิทยาเขต

3. ผลงานของอาจารย์ประจำหลักสูตรควรได้เขึยนขึ้นนอกจากผลงานวิจัยที่จัดทำปกติ

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

ควรนำผลงานวิจัยมาบูรณาการการเรียนการสอนหรือนำนักศึกษาฝึกฝนการบูรณางานวิจัย

ทางหลักสูตรควรได้กำหนดรายวิชาที่จะทำการบูรณางานวิจัยแต่ละภาคการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมโดยกำหนดไว้ในมติในที่ประชุมของคณะกรรมการประจำหลักสูตรด้วย

การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ควรทวนสอบรายวิชาทีเ่ป็นรายวิชาเอกของสาขา รหัส (PH) 

 หลีกสุตรควรได้มีกระบวนการในการทวนสอบภาคการศึกษา

หลักสูตรควรได้มีการวางแผนการประชุมให้เป็นไปเพื่อการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาเท่านั้น

ควรมีการนำผลการทวบสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา

การเลือกรายวิชาที่มีความผิดปกติ

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

ควรพัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่เป็นระบบออนไลน์รวมทั้งสร้ารงระบบการสืบค้นทั้งมหาวิทยาลัยให้สามารถเชื่อมต่อได้

หลักสูตรควรได้ติดต่อประสานงานกับวิทยาเขตเพื่อวางแผนการซื้อสิ่งสนับสนุนการเรียนในแต่ละภาคการศึกษา

 ควรได้รวบรวมเอกสารหนังสือที่เป็น e-book มาโหลดไว้ใน เว๊ปไซต์ของวิทยาเขตเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษา

หลักสูตรควรได้ทำโครงการหรือสัปดาห์การเข้าห้องสมุดสืบค้นแบบออนไลน์ให้กับนักศึกษาเป็นรายเดือนหรือภาคการศึกษา

 

 

 

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์
ภาพถ่าย