Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2562

หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์


บทสรุปผู้บริหาร

จากผลการดำเนินงานของหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง 3.92 มีคุณภาพอยู่ในระดับดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้

        องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีผลการบริหารจัดการหลักสุตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่าน

             องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย การผลิตบัณฑิตหรือการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้เท่ากับ 4.37 มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก

        องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีระบบการประกันคุณภาพนักศึกษาที่ให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษาและการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ 3.67 มีคุณภาพอยู่ในระดับดี

          องค์ประกอบที่ 4  อาจารย์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้ เท่ากับ 3.41 มีคุณภาพอยู่ในระดับดี

          องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง  ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ 4.25 มีคุณภาพอยู่ในระดับดี 

         องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 นี้เท่ากับ 4.00 มีคุณภาพอยู่ในระดับดี

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

2) ชื่อปริญญา สังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต (สังคมสงเคราะห์ศาสตร์)

3) สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด คณะสังคมศาสตร์

2) สถานที่เปิดสอน

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล  จังหวัดนครปฐม

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ เป็นการศึกษาเพื่อการสร้างความเป็นธรรมทางสังคม และการพัฒนาสังคม การยอมรับความหลากหลายในมิติต่างๆ การสร้างสังคมให้มีความสุขไม่เลือกปฏิบัติ เคารพคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิมนุษยชนและสิทธิการเข้าถึงสวัสดิการสังคม ของทุกภาคส่วน การรับใช้สังคมและการสร้างสํานึกในการรับผิดชอบต้อหน้าที่ โดยบูรณาการพุทธศาสตร์กับวิชาชีพสังคมสงเคราะห์และสหวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม

2) ความสำคัญของหลักสูตร

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม จิตสาธารณะ จรรยาบรรณทางวิชาชีพและชี้นําสังคมไปในแนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสม

2. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ทัศนคติ และทักษะวิชาชีพ มีวิธีวิทยาในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ และทักษะทางวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ สามารถประยุกต์และพัฒนาเครื่องมือการทำงานในระดับจุลภาคและมหภาคได้

3. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการบูรณาการความรู้ ทักษะทางวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ และ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเข้าไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานทางสังคมสงเคราะห์   

1.4 รหัสหลักสูตร 25491861105535

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
คณะสังคมศาสตร์
ปีการศึกษา 2562

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาการ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
4
3.73
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
4
5.00
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
4.37
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
4
4
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
4
4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
4
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.67
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
4
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
2.22
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
4
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.41
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
4
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
4
4
5.3 การประเมินผู้เรียน
4
4
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
4
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
4.25
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้)
3.92
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2562
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 2 - - 4.37 4.37 ดีมาก
3 3 3.67 - - 3.67 ดี
4 3 3.41 - - 3.41 ดี
5 4 4.00 4.33 - 4.25 ดีมาก
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 13 3.60 4.25 4.37 3.92 ดี
ผลการประเมิน ดี ดีมาก ดีมาก ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

t

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

t

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

แนวทางส่งเสริมและพัฒนา

สาขาวิชาควรมีการวิเคราะห์ความ คุ้มค่า คุ้มทุนในการรับนักศึกษาตามสถานการณ์ เพื่อให้การเรียนการสอนเป็นไปตามเจตนารมณ์ของหลักสูตร

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

แนวทางส่งเสริมและพัฒนา

ควรมีการวิเคราะห์ แผนพัฒนาอาจารย์รายบุคคล (IDP)ทั้งด้านคุณวุฒิทางการศึกษา ตำแหน่งทางวิชาการ การผลิตตำราหรือหนังสือประกอบการเรียนการสอน การเขียนบทความทางวิชาการ การทำวิจัย และ การตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานทางวิชาการทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

แนวทางส่งเสริมและพัฒนา

การกำกับติดตามและการประเมินผลการจัดการเรียนการสอนตามผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF)

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

แนวทางส่งเสริมและพัฒนา

1. ควรจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ เช่น ไมโครโฟน โปรเจคเตอร์  ให้อยู่ในสภาวะพร้อมใช้งาน

2. ควรส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนให้ทันสมัยและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น การเรียนการสอนแบบระบบ e-learnning การเรียนการสอนออนไลน์

3. อาจารย์ประจำหลักสูตรควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาในด้านการจัดการเรียนการสอนพร้อมกับเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอน เช่น โน๊ตบุ๊ค แท็บเล็ท เป็นต้น

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)

fdgfgd

บทสัมภาษณ์
ภาพถ่าย

ไม่มีคำอธิบาย105974704_661910664398088_1925509297420577150_n