Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2562

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา


บทสรุปผู้บริหาร

คณะกรรมการได้ดำเนินการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาเพื่อการพัฒนาองค์กรทุก ๆ ด้านให้มีประสิทธิภาพตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาหรือสกอ. ได้กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการตามองค์ประกอบคุณภาพ 6 องค์ประกอบ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้จำนวน 13 ตัวบ่งชี้ โดยเป็นกลุ่มสถาบันที่เน้นระดับปริญญาตรีตัวบ่งชี้ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาจานวน 13 ตัวบ่งชี้ รายงานการประเมินตนเองฉบับนี้ปีการศึกษา 2562 วงรอบ 1 สิงหาคม 2561 ถึง 31 กรกฎาคม 2562 มีการประเมินตามหลักเกณฑ์ของสกอ. โดยคะแนนเต็ม 1-5 คะแนนทุกตัวบ่งชี้ซึ่งผลการประเมินมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

องค์ประกอบที่ 1  การกำกับมาตรฐาน ผ่านการประเมินถือว่าเป็นหลักสูตรได้มาตรฐาน

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต       ได้คะแนน  4.50  อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา     ได้คะแนน  3.00   อยู่ในระดับคุณภาพ ปานกลาง

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์       ได้คะแนน  3.44  อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน ได้คะแนน 3.50 อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ได้คะแนน 4.00 อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

โดยภาพรวมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา  คณะสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้คะแนน 3.56  อยู่ในระดับ  ดี การประเมินถือว่าเป็นหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

2) ชื่อปริญญา ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): ศิลปศาสตรบัณฑิต (สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา) ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Bachelor of Arts (Sociology and Anthropology)

3) สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด คณะสังคมศาสตร์

2) สถานที่เปิดสอน

คณะสังคมศาสตร์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (ส่วนกลาง)  ที่ตั้งอยู่ที่ 248  หมู่ที่ 1

ถนนศาลายา - นครชัยศรี  ตำบลศาลายา  อำเภอพุทธมณฑล  จังหวัดนครปฐม  73170

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

ปรัชญาของหลักสูตร

                     ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มุ่งสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ ผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิพากษ์ ปรากฏการณ์ทางสังคม และสามารถศึกษาวิจัยปรากฏการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมได้อย่างเป็นระบบ เป็นผู้ที่ยึดมั่นหลักพุทธธรรม มีคุณธรรม จริยธรรม รับผิดชอบต่อสังคม โดยคณะสังคมศาสตร์ให้การสนับสนุนความเสมอภาคทางการศึกษา และการพัฒนาองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ 

2) ความสำคัญของหลักสูตร

ความสำคัญของหลักสูตร

                     ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มุ่งสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ ผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิพากษ์ ปรากฏการณ์ทางสังคม และสามารถศึกษาวิจัยปรากฏการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมได้อย่างเป็นระบบ เป็นผู้ที่ยึดมั่นหลักพุทธธรรม มีคุณธรรม จริยธรรม รับผิดชอบต่อสังคม โดยคณะสังคมศาสตร์ให้การสนับสนุนความเสมอภาคทางการศึกษา และการพัฒนาองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)  มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้

1. เพื่อให้บัณฑิตได้รู้หลักการและแนวคิดทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

2. เพื่อให้บัณฑิตได้รับความรู้ และประสบการณ์ในการทางานเพื่อพัฒนาสังคมและประเทศชาติ

3. เพื่อปลูกฝังทัศนคติของบัณฑิตให้ยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข                                                     

4.  เพื่อให้บัณฑิตสามารถดำรงตนอยู่ได้อย่างมีความสุขและบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมตามแนวทางพระพุทธศาสนา

 

1.4 รหัสหลักสูตร 25491861109271

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คณะสังคมศาสตร์
ปีการศึกษา 2562

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาการ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
4
4.00
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
4.00
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
4
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
4
3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
4
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.00
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
4
3
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
4.33
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
4
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.44
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
4
3
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
4
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
4
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
4
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.50
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (12 ตัวบ่งชี้)
3.44
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2562
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 1 - - 4.00 4.00 ดี
3 3 3.00 - - 3.00 ปานกลาง
4 3 3.44 - - 3.44 ดี
5 4 3.00 3.67 - 3.50 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 12 3.19 3.75 4.00 3.44 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี ดี ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

แนวทางส่งเสริมและพัฒนา

ควรแสวงหาผู้เรียนในพื้นที่ปริมณฑลและภาคตะวันตกโดยแน้นหลากหลายอาชีพ 

 

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

แนวทางการส่งเสริมและพัฒนา

- ควรส่งเสริมและสนับสนุนอาจารย์ประจำหลักสูตรให้มีผลงานทางวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ บทความวิชาการ หรือตำราเพื่อตีพิมพ์หรือเผยแพร่ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ เพื่อรองรับการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการในอนาคต

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

แนวทางในการส่งเสริมและพัฒนา

- ควรกำหนดรายวิชาที่จะบูรณาการการเรียนการสอนกับการวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม พร้อมกำหนดลงในรายวิชาตั้งแต่ต้นปีการศึกษา

-ควรสร้างความร่วมมือ กับหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ในการพัฒนาความรู้และทักษะ บุคลากรและผู้นำท้องถิ่นด้านการพัฒนาชุมชนและสังคมให้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนการสอน วิจัย บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

 

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

แนวทางส่งเสริมและพัฒนา

-พัฒนาพื้นที่หรือชุมชนให้เป็นแหล่งสนับสนุนการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาและอาจารย์ 

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์
ภาพถ่าย