Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ปีการศึกษา

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ


บทสรุปผู้บริหาร

จากผลการดำเนินงานของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง 3.88 มีคุณภาพระดับดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่าน

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย การผลิตบัณฑิตหรือการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้เท่ากับ 4.66

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ด้านนักศึกษา มีระบบการประกันคุณภาพนักศึกษา ต้องให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษาและการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ 3.33

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 3.69

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่องผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ 4.00

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 นี้เท่ากับ 4.00

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

2) ชื่อปริญญา ศศ.บ.(ภาษาอังกฤษ)

3)

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด

2) สถานที่เปิดสอน

คณะมนุษยศาสตร์
วิทยาเขตล้านนา
วิทยาเขตอีสาน

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

ผลิตบัณฑิตที่มีความรอบรู้ ทางด้านภาษาอังกฤษ กล้าแสดงออกอย่างมีเหตุผล เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลธรรม คุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณ

2) ความสำคัญของหลักสูตร

ด้วยปัจจัยสำคัญของกระแสการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมดังที่ระบุในข้อ 11 คณะมนุษยศาสตร์ ภาควิชาภาษาตะวันตก มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จึงได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกด้านการติดต่อสื่อสาร เศรษฐกิจสังคม และตลาดแรงงานในปัจจุบันและอนาคต ที่นักศึกษาสามารถเลือกเรียนได้ตามความสนใจ ได้แก่ กลุ่มรายวิชาที่สัมพันธ์กับรายวิชาที่เน้นความรู้ทางด้านการติดต่อสื่อสาร เป็นต้น การเรียนการสอนในหลักสูตรมุ่งเน้นการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ สอดแทรกความเป็นคนดี มีศีลธรรม คุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณเพื่อให้ได้บุคลากรที่มีคุณภาพ มีความสามารถในการประกอบอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญของประเทศต่อไป

   ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ดี ความประพฤติดี มีความสามารถและประสบการณ์ในสาขาวิชา มีความพร้อมในการทำงานในสถานการณ์ต่างๆ มีศีลธรรม คุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณมีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถ ในการวิจัย พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง และเรียนรู้ตลอดชีวิต

1) ด้านการเรียนการสอน ปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนจากแบบบรรยายอย่างเดียวมาเป็นแบบยึดตัวผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง คือ การให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร

2) ด้านการวิจัย ให้ความสำคัญในการค้นคว้าและวิจัย เพี่อให้ผู้ศึกษารู้จักการค้นคว้าและการทำวิจัย จึงได้จัดวิชาระเบียบวิธีวิจัยเข้ามาในทุกหลักสูตร

3) ด้านบริการวิชาการแก่สังคม จัดกิจกรรมเป็นประจำ การทัศนศึกษานอกสถานที่ การอภิปราย หรือ ปาฐกถา โดยให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการบรรยาย หรือปาฐกถาตลอดจนการสัมมนาทางวิชาการ เป็นต้น

4) ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มีการจัดกิจกรรมการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมเป็นประจำทุกภาคการศึกษา ได้แก่ การจัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา การจัดกิจกรรมวันขึ้นปีใหม่ การเข้าร่วมกิจกรรมวันสงกรานต์ เป็นต้น

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1.เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรมของไทยทั้งในและนอกประเทศ

2.เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถในการนำความรู้ด้านภาษาอังกฤษไปใช้ประกอบอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ

3.เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ทั้งในภาครัฐและเอกชน

4.เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีศีลธรรม คุณธรรมจริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม

1.4 รหัสหลักสูตร 25491861105502

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
ปีการศึกษา

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
สรุปผลการประเมิน ผ่าน
ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 4 4.31
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต 4.31
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา 4 3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา 4 4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา 4 3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา 3.33
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์ 4 4
4.2 คุณภาพอาจารย์ 4 4.07
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์ 5 3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ 3.69
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร 4 4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน 4 4
5.3 การประเมินผู้เรียน 4 3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 5 5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน 4.00
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 4 4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (12 ตัวบ่งชี้) 3.78
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 1 - - 4.31 4.31 ดีมาก
3 3 3.33 - - 3.33 ดี
4 3 3.69 - - 3.69 ดี
5 4 4.00 4.00 - 4.00 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 12 3.58 4.00 4.31 3.78 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี ดีมาก ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

จุดเด่น
อัตราการได้งานทำของบัณฑิตอยู่ในระดับสูงชี้ให้เห็นถึงการบริหารหลักสูตรและการพัฒนาบัณฑิตที่มีคุณภาพแม้จะได้รับนักศึกษาแรกเข้าที่มีความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษอย่างจำกัด
จุดที่ควรพัฒนา

หลักสูตร ร่วมกับคณะฯ และ มหาวิทยาลัยควรปรับกระบวนการพัฒนาบัณฑิตเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของตลาดงาน และเพื่อให้ส่งผลกับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตในระดับที่สูงขึ้น

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

จุดเด่น

หลักสูตรมีการปรับปรุงกระบวนการการดูแลให้คำปรึกษาและการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 และส่งผลเป็นรูปธรรมซึ่งแสดงให้เห็นในโครงการส่งเสริมอาชีพของวิทยาเขตอีสานจนทำให้โรงเรียนสามารถลดรายจ่ายด้านอาหารกลางวันได้

จุดที่ควรพัฒนา 

หลักสูตรควรมีการปรับกระบวนการการรับนักศึกษา เช่นทำการวิเคราะห์ข้อมูลของศิษย์ปัจจุบันเพื่อให้ทราบถึงพื้นที่เป้าหมาย เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนรับนักศึกษาให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ใน มคอ 2

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

จุดเด่น 

หลักสูตรมีการปรับปรุงกระบวนการพัฒนาอาจารย์ทั้งในด้านการรับ การบริหาร และ การพัฒนาอาจารย์และส่งงผลเป็นรูปธรรม ในด้านการรับอาจารย์ที่มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอก มีความพึงพอใจในการบริหารอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และ มีผู้จบปริญญาเอก และ มีการตีพิมพ์ผลงานในฐาน SCOPUS

จุดที่ควรพัฒนา 

หลักสูตรควรมีการปรับกระบวนการการพัฒนาส่งเสริมอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร โดยเน้นการต่อยอดจากกระบวนการที่ได้รับการปรับปรุงในการพัฒนาคุณวุฒิ และ ตำแหน่งทางวิชาการ ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบคนอื่น

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

จุดเด่น

หลักสูตรมีการปรับกระบวนการการพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยตามการพัฒนาบัณฑิตด้านภาษาอังกฤษโดยมีผลเป็นรูปธรรมซึ่งปรากฏเห็นในวิธีการสอนที่ทันสมัยใน มคอ 2 หลักสูตร 2564

จุดที่ควรพัฒนา 

หลักสูตรควรมีการปรับกระบวนการการตรวจสอบผลการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยพัฒนาคลังข้อสอบในวิชาต่างๆ ที่มีการศึกษาค่าความยาก ค่าจำแนก และ ค่าความสอดคล้อง กับทักษะที่ต้องการวัด

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

จุดเด่น

หลักสูตรมีการปรับกระบวนการจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้โดยส่งผลเป็นรูปธรรมในการพัฒนาความรู้ความสามารจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการสอนในยุคโรคระบาด COVID19  

จุดที่ควรพัฒนา 

หลักสูตรควรมีการทำความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก หรือ ศิษย์เก่า เพื่อพัฒนาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ให้เพียงพอต่อความต้องการ และ ตอบสนองต่อความพึงพอใจของอาจารย์และนักศึกษาในหลักสูตร 

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์
ภาพถ่าย