Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2562

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ


บทสรุปผู้บริหาร

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ คณะกรรมการได้ประเมินคุรภาพการศึกษาในปีการศึกษา 2562  สรุปผลคะแนนเฉลี่ยทุกองค์ประกอบที่ 2.92 คุณภาพระดับปานกลาง โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้

        องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา มีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่าน

        องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา การผลิตบัณฑิตหรือการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมากเท่ากับ 4.81

        องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา นักศึกษา ระบบการประกันคุณภาพนักศึกษา ต้องให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษาและการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเท่ากับ 2.67

        องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเท่ากับ 2.44

        องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียน การสอน การประเมินผู้เรียน คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง  ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเท่ากับ 2.75

        องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 นี้อยู่ในระดับน้อย มีค่าเท่ากับ 2.00

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ

2) ชื่อปริญญา

3) สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตล้านนา

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษมุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในด้านการสอนมีการบูรณาการการสอนให้เข้ากับวิชาการทางพระพุทธศาสนาสามารถปฏิบัติหน้าที่ความเป็นครูผู้สอนภาษาอังกฤษและเป็นบัณฑิตมีความรู้ความสามารถ (Capability) ทางด้านการสอนภาษาอังกฤษ กล้าคิด กล้าทำ กล้าวิพากษ์อย่างมีเหตุผล มีจรรยาบรรณ และจริยธรรมสำหรับครูในการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

2) ความสำคัญของหลักสูตร

ปัจจุบัน ความต้องการทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสามารถทางภาษาเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้มีความพร้อมในการแข่งขันในบริบทนานาชาติและในบริบทประชาคมอาเซียน ด้วยเหตุนี้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีผู้ที่มีความสามารถทางภาษาอังกฤษมากพอที่จะเป็นแม่แบบได้และสามารถพัฒนาความสามารถทางภาษาอังกฤษของผู้อื่นได้อย่างถูกหลักวิชาการเรียนการสอนภาษา และ ในขณะเดียวกันมีความสามารถที่จะเชื่อมโยงความรู้ทางภาษาอังกฤษกับบริบทของโลกาภิวัตน์ รวมทั้งสามารถศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษได้ ทรัพยากรมนุษย์เหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และริเริ่มสร้างสรรค์ โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพครูในการแก้ปัญหาการทำงานได้

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในการเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ ตามทฤษฎีและหลักการสอน สามารถบูรณาการความรู้ไปสู่กลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น มีความรู้ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา วัฒนธรรมและวรรณคดี มีความเข้าใจในโครงสร้างทางภาษา สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร มีทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์และแก้ปัญหาได้ และสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองซึ่งนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต
  2. ผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการวิจัยทางด้านการศึกษา และสามารถประยุกต์ใช้ทักษะความรู้ในศตวรรษที่ 21 ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านสารสนเทศทักษะด้านชีวิตและอาชีพ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในบริบทของการศึกษาได้อย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์
  3. ผลิตบัณฑิตด้านการสอนภาษาอังกฤษที่มีความเป็นสากล และสำนึกในความเป็นไทย ร่วมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ตระหนักถึงคุณค่าของพระพุทธศาสนา มีจิตอาสาถ่ายทอดความรู้สู่ผู้เรียนและสังคม
  4. บัณฑิตมีจรรยาบรรณในวิชาชีพครู บนพื้นฐานของหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา มีคุณลักษณะของความเป็นครูที่ดี พัฒนางานในวิชาชีพโดยใช้ความรู้และประสบการณ์เพื่อแก้ปัญหาในการทำงานให้เจริญก้าวหน้า

1.4 รหัสหลักสูตร 25491861105513

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
ปีการศึกษา 2562

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาชีพ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติการ (วิชาชีพ)
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
4
4.61
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
4
5.00
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
4.81
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
4
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
4
2
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
4
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
2.67
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
4
1
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
3.33
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
4
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
2.44
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
4
2
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
4
2
5.3 การประเมินผู้เรียน
4
2
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
4
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
2.75
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4
2
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
2.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้)
2.92
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2562
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 2 - - 4.81 4.81 ดีมาก
3 3 2.67 - - 2.67 ปานกลาง
4 3 2.44 - - 2.44 ปานกลาง
5 4 2.00 3.00 - 2.75 ปานกลาง
6 1 - 2.00 - 2.00 น้อย
รวม 13 2.48 2.75 4.81 2.92 ปานกลาง
ผลการประเมิน ปานกลาง ปานกลาง ดีมาก ปานกลาง ปานกลาง
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

1. หลักสูตรควรนำผลการประเมินมาวิเคราะห์เพื่อใช้เป็น input ในการวางแผนการจัดการเรียนการสอน และการจัดกิจกรรมเสริมศักยภาพ เพื่อพัฒนานักศึกษาในด้านที่ยังได้ผลการประเมินต่ำกว่าด้านอื่น

2. หลักสูตรควรนำผลจากการสำรวจมาวิเคราะห์เพื่อใช้เป็น input ในการปรับปรุงหลักสูตร เช่น ลักษณะงานที่บัณฑิตทำ เงินเดือนที่ได้รับ ตำแหน่งงาน ฯลฯ เพื่อพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนและหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภพาการณ์ปัจจุบันมากยิ่งขึ้น

3. ควรเพิ่มจำนวนผู้ใช้บัณฑิตที่ตอบแบบสอบถาม (มีที่ตอบมา 21 % คือ จำนวนผู้ตอบ 15 คน จากบัณฑิต 71 คน ) เพื่อนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการปรับปรุงหลักสูตร สาระรายวิชาตลอดจนการจัดการเรียนการสอน และการวัดผล ประเมินผล

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

1. หลักสูตรควรมีการประเมินกระบวนการอย่างเป็นระบบ  และมีการปรับปรุงกระบวนการที่สอดคล้องกับผลการประเมิน เพื่อให้สามารถพัฒนาระบบกลไกในการดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง

2. หลักสูตรควรมีการวัดผลความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ อย่างละเอียดและชัดเจน นอกเหนือจากการประเมินความพึงพอใจ เพื่อจะได้ทราบผสัมฤทธิ์ของกิจกรรมต่าง ๆ ว่าได้ผลตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่ ทั้งกิจกรรมการเตรียมความพร้อม และกิจกรรมพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา และจะได้นำผลมาพัฒนาปรับปรุงการจัดกิจกรรมในคราวต่อไปได่อย่างถูกต้อง

3. หลักสูตรควรเพิ่มเติมรายละเอียดของผลการงานต่าง ๆ เพื่อให้เห็นเป้าหมาย วัตถุประสงค์ รุปแบบ และผลสำเร็จของการดำเนินงานอย่างชัดเจน

 

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

1. หลักสูตรควรจัดทำแผนบริหารและแผนพัฒนาอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งการบริหารอัตรากำลัง การพัฒนาคุณวุฒิ การพัฒนาตำแหน่งทางวิชาการ การพัฒนาความเชี่ยวชาญทางวิชาการและวิชาชีพ โดยมีตัวชี้วัดความสำเร็จที่ชัดเจน และมีการกำกับติดตาม รวมถึงประเมินผลความสำเร็จอย่างเป็นระบบ

2. หลักสูตรควรจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เพื่อเตรียมการให้มีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรพร้อมที่จะดูแลและบริหารหลักสูตรได้ตลอดระยะเวลา

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

1. หลักสูตรควรกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รวมถึงตัวชี้วัดผลสำเร็จให้ชัดเจนเป็นรูปธรรม เพื่อความชัดเจนในการประเมินผล และการแก้ไขปรับปรุง เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

2. หลักสูตรควรรายงานผลการดำเนินงานให้เห็นภาพรายละเอียดของการดำเนินงานที่แท้จริง

3. หลักสูตรควรมีแผนการบูรณาการการเรียนการสอน กับการวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม รวมถึงการกำกับติดตาม และประเมินผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม

4. การเขียนผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชา ในมคอ.3/มคอ.4 ควรเขียนให้เป็นรูปธรรมที่วัดได้ในแต่ละรายวิชาตลอดจนวิธีการสอน และวิธีการประเมินที่สอดคล้องผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชาที่กำหนด

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

1. หลักสูตรควรดำเนินการประเมินผลสัมฤทธิ์ของสิ่งสนับสนุนที่ได้จัดหามาตามความต้องการของอาจารย์/นักศึกษา ว่ามีความเพียงพอเหมาะสมอย่างไร และส่งผลให้การเรียนรู้ของนักศึกษาดีขึ้นหรือไม่ เพื่อประเมินประสิทธิภาพของสิ่งสนับสนุนนั้น ๆ เช่น ห้องปฏิบัติการทางภาษา ฯลฯ

2. หลักสูตรควรเพิ่มเติมการประเมินสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่อยู่ภายนอกมหาวิทยาลัย แต่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักศึกษาด้วย เช่น แหล่งฝึกปฏิบัติการสอน social lab ต่าง ๆ เป็นต้น

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)

จุดควรพัฒนา

1.ในตัวบ่งชี้กระบวนการ ( 3.1,3.2,4.1,5.1,5.2,5.3และ 6.1 )ขอให้หลักสูตร 1.กำหนดเป้าหมายเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ 2. แสดงผลการทบทวนกระบวนการของปีการศึกษาที่ผ่านมา (A ของปีการศึกษาที่ผ่านมา) 3.แสดงกระบวนการ (P)ที่ส่งผลต่อเป้าหมายเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่กำหนดไว้ 4. แสดงผลการดำเนินการ(D) ตามกระบวนการที่กำหนด 5. มีการทบทวนกระบวนการ (C) ที่กำหนดไว้ในข้อ 2 ว่ามีประเด็นปัญหาหรือต้องเพิ่มเติมกระบวนการขั้นตอนไหนอย่างไร 6. มีการปรับปรุงกระบวนการ(A) ซึ่งจะดำเนินการในปีการศึกษาถัดไป

2.ขอให้ตรวจสอบข้อมุลที่นำเสนอใน SAR ให้ถูกต้อง

บทสัมภาษณ์
ภาพถ่าย