Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2562

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562)


บทสรุปผู้บริหาร

จากผลการดำเนินงานของหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค 2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง ประจำปีการศึกษา 2562 มีคุณภาพอยู่ในระดับดี ที่คะแนน 3.46   โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้

          องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน :  สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ รักษาคุณภาพด้านการกำกับมาตรฐานของหลักสูตร โดยมีอาจารย์ประจำหลักสูตรครบ 5 คน ตามกำหนด และอาจารย์ประจำหลักสูตรมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ปี พ.ศ. 2558 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรในองค์ประกอบที่ 1 คือ ผ่านการประเมิน

          องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต :  สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ ผลิตบัณฑิตและจัดการเรียนการสอนให้บัณฑิตมีความรู้ความสามารถในสาขาวิชาและวิชาชีพ ซึ่งมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามมาตรฐานคุณภาพบัณฑิตระดับอุดมศึกษา (TQF) อันได้แก่ การเป็นผู้มีความรู้ ประกอบกับการมีคุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถที่จะการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 เท่ากับ 4.63 อยู่ในระดับดีมาก

          องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา : สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษา  ซึ่งจะต้องมีการวางแผนการรับนักศึกษาอย่างเป็นระบบ จึงได้มุ่งพัฒนากระบวนการรับนักศึกษา การสอบคัดเลือก และการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ รวมถึงการเตรียมความพร้อม/ปรับพื้นฐานของนักศึกษาก่อนเข้าศึกษาต่อ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และทักษะพื้นฐานอันนำไปสู่การเอาตัวรอดในการดำเนินชีวิตประจำวัน และมีความรู้ความสามารถเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานระดับอุดมศึกษา ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 เท่ากับ 3.00 อยู่ในระดับปานกลาง

          องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ : สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มีการบริหารและพัฒนาคุณภาพของอาจารย์ประจำหลักสูตร โดยการส่งเสริมให้อาจารย์ประจำหลักสูตรผลิตผลงานทางวิชาการ การเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา และการพัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ โดยกำหนดแผนการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ รวมถึงการติดตามผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 เท่ากับ 2.93 อยู่ในระดับปานกลาง

          องค์ประกอบที่ 5  หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน : สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ กำกับบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง โดยจัดประชุมสาขาวิชาในทุก ๆ ภาคการศึกษา เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 2 ครั้งต่อภาคการศึกษา ซึ่งเอกสารเกี่ยวกับการประชุมสาขาวิชา ประกอบด้วย 1) ระเบียบวาระการประชุม 2) รายงานการประชุม 3) รายชื่อผู้เข้าประชุม ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 เท่ากับ 3.75 อยู่ในระดับดี    

          องค์ประกอบที่ 6 สนับสนุนการเรียนรู้ : สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด สนับสนุนให้นักศึกษาเข้าถึงการให้บริการทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน โดยได้จัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ อันจะช่วยพัฒนากระบวนการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ของกรอบมาตรฐาน คุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 เท่ากับ 3.00 อยู่ในระดับปานกลาง

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562)

2) ชื่อปริญญา ชื่อเต็ม: ศึกษาศาสตรบัณฑิต (การสอนภาษาอังกฤษ) ชื่อย่อ: ศษ.บ. (การสอนภาษาอังกฤษ)

3) สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตร้อยเอ็ด

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด ตำบลดงลาน อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษมุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในด้านการสอนมีการบูรณาการการสอนให้เข้ากับวิชาการทางพระพุทธศาสนาสามารถปฏิบัติหน้าที่ความเป็นครูสอนภาษาอังกฤษและเป็นบัณฑิตมีความรู้ความสามารถ (Capability) ทางด้านการสอนภาษาอังกฤษกล้าคิด  กล้าทำ กล้าวิพากษ์อย่างมีเหตุผล มีจรรยาบรรณและจริยธรรมสำหรับครูในการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

2) ความสำคัญของหลักสูตร

ปัจจุบันความต้องการทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสามารถทางภาษาเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้มีความพร้อมในการแข่งขันในบริบทนานาชาติและในบริบทประชาคมอาเซียน ด้วยเหตุนี้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีผู้ที่มีความสามารถทางภาษาอังกฤษมากพอที่จะเป็นแม่แบบได้และสามารถพัฒนาความสามารถทางภาษาอังกฤษของผู้อื่นได้อย่างถูกหลักวิชาการเรียนการสอนภาษา และในขณะเดียวกันมีความสามารถที่จะเชื่อมโยงความรู้ทางภาษาอังกฤษกับบริบทของโลกาภิวัตน์ รวมทั้งสามารถศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษได้ ทรัพยากรมนุษย์เหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะดังนี้

  1. บัณฑิตมีความรู้ความเข้าใจในหลักการสอนภาษาอังกฤษ และหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา สามารถบูรณาการปรับเปลี่ยนหลักแนวคิดและทฤษฎีการเรียนการสอนได้อย่างหลากหลายตามสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา
  2. บัณฑิตมีทักษะการสอนภาษาอังกฤษ และสื่อสารภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มีความรู้ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และมีความรับผิดชอบ มีทักษะการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ประยุกต์ใช้กับการจัดเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม
  3. บัณฑิตมีจิตวิญญาณความเป็นครู มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ ตระหนักถึงคุณค่าของพระพุทธศาสนา และความเป็นไทย มีระเบียบวินัย มีจิตอาสา เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม สามารถพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเป็นนวัตกรรมใหม่ในการพัฒนางานทางวิชาชีพให้ก้าวหน้าสู่ระดับชาติและนานาชาติ
  4. บัณฑิตมีความเข้าใจในกระบวนการวิจัยและประยุกต์ใช้ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อแก้ปัญหาพัฒนาผู้เรียน ประเมินผลทางการศึกษา พัฒนาศักยภาพด้านการทำงานและการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น แสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต

1.4 รหัสหลักสูตร 25491861105513

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
ปีการศึกษา 2562

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาชีพ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติการ (วิชาชีพ)
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
4
4.26
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
4
5.00
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
4.63
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
4
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
4
3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
4
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.00
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
4
3
4.2 คุณภาพอาจารย์
4
2.78
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
4
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
2.93
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
4
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
4
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
4
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
4
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.75
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
3.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้)
3.46
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2562
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 2 - - 4.63 4.63 ดีมาก
3 3 3.00 - - 3.00 ปานกลาง
4 3 2.93 - - 2.93 ปานกลาง
5 4 4.00 3.67 - 3.75 ดี
6 1 - 3.00 - 3.00 ปานกลาง
รวม 13 3.11 3.50 4.63 3.46 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี ดีมาก ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

อาจารย์ผู้รับผิดชอบมีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานคุณวุมิระดับชาติและมีประสบการณ์

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

จุดที่ควรพัฒนา

การรับและเตรียมความพร้อม การรับนักศึกษา

แนวทางการพัฒนา 

หลักสูตรควรหาวิธีการหรือมาตรการที่จะเพิ่มจำนวนนักศึกษา โดยการประชาสัมพันธ์ จัดหาทุน หรือแหล่งเงินทุนสนับสนุน มีแนวทางการหารายได้ระหว่างศึกษา

การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา

หลักสูตรควรมีเครื่องมือประเมินความรู้พื้นฐานของนักศึกษาเพื่อที่จะเตรียมความพร้อมได้อย่างถูกต้องและเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้และสำเร็จการศึกษาตามที่ระยะเวลาของหลักสูตรกำหนดไว้

การเสริมสร้างทักษะ ในศตวรรษที่ 21

หลักสูตรควรมีการจัดกิจกรรมหรือโครงการเพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จและมีการประเมินผลอย่างเป็นรูปธรรม

 

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

หลักสูตรควรจัดทำแผนการบริหารและพัฒนาอาจารย์เพื่อเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์เพื่อเพิ่มพูลความรู้ความสามารถให้เข้มแข็งในด้านวิชาการ ซึ่งได้แก่ การศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ และการเผยแพร่ผลงานในกลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 1 หรือการนำเสนอผลงานในระดับชาติและนานาชาติ 

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

จุดเด่น

หลักสูตรมีการออกแบบและสาระรายวิชาในหลักสูตร ที่ทันสมัยและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและทางสังคม ตลอดจนมีสาระเนื้อหาที่ครอบคลุมหลักสูตร และมีสาระที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต

จุดที่ควรพัฒนา

 การประเมินผลผู้เรียน

หลักสูตรควรมีการประเมินการเรียนการสอนด้วยเครื่องมือที่มีคุณภาพและวิธีการให้เกรดที่สะท้อนผลการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างเหมาะสมและเป็นไปตามสภาพจริง

 

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

จุดที่ควรพัฒนา

 หลักสูตรควรมีการจัดทำเครื่องมือการประเมินสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ให้ครบทุกด้านและนำผลการประเมินมาปรับปรุงให้สอดคล้องกับความต้องการของนักศึกษาและอาจารย์ และให้เอื้อต่อการเรียนการสอนของนักศึกษาได้อย่างเหมาะสม

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์
ภาพถ่าย

S__104538165S__104538163S__104538166