Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2562

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์


บทสรุปผู้บริหาร

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2562) เป็นหลักสูตรใหม่ได้มีการประเมินตนเองเป็นปีแรกของการศึกษา ตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ซึ่งรายงานการประเมินตนเอง (SAR) ฉบับนี้เป็นรายงานการประเมินตนเองระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2562 ที่มีการจัดการเรียนการสอนที่ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช ภายในวัดป่าห้วยพระ ตำบลนาพรุ อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยผลการประเมินตนเองในภาพรวมทั้ง 6 องค์ประกอบ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.30  มีระดับคุณภาพดี และเมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า

        องค์ประกอบที่ 1 ด้านการกำกับมาตรฐาน ผลการบริหารจัดการหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์ ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ที่กำหนดโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้มาตรฐาน

        องค์ประกอบที่ ไม่ขอรับการประเมิน

        องค์ประกอบที่ 3 ด้านนักศึกษา มีผลการประเมินตนเอง โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.00 มีระดับคุณภาพปานกลาง ซึ่งจุดเด่นขององค์ประกอบนี้ คือ แนวโน้มการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษา มีโอกาศเพิ่มสูงขึ้น

        องค์ประกอบที่ ด้านอาจารย์ มีผลการประเมินตนเอง โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.11 มีระดับคุณภาพดี ซึ่งจุดเด่นขององค์ประกอบนี้ คือ การคงอยู่ของอาจารย์ประจำหลักสูตร และความพึงพอใจของอาจารย์ต่อการบริหารหลักสูตรอยู่ในระดับดี

        องค์ประกอบที่ 5 ด้านหลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน มีผลการประเมินตนเอง โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.75  มีระดับคุณภาพดี ซึ่งจุดเด่นขององค์ประกอบนี้ คือ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2562) เป็นหลักสูตรที่ได้รับการพัฒนา ปรับปรุง เนื้อหาสาระของหลักสูตรให้มีความเป็นทันสมัย รวมถึงเป็นหลักสูตรที่สามารถนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเข้ามาปรับใช้เพื่อให้นักศึกษาได้เกิดทักษะในการดำเนินชีวิตตามแนวทางพระพุทธศาสนา ตลอดจนการดำเนินงานของหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติมีการดำเนินงานคิดเป็นร้อยละ 100

          องค์ประกอบที่ 6 ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ มีผลการประเมินตนเอง โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.00 มีระดับคุณภาพปานกลาง ซึ่งจุดเด่นขององค์ประกอบนี้ คือ มีระบบการดำเนินการให้การจัดสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์และนักศึกษา แต่ทั้งนี้ยังจำเป็นที่จะต้องเพิ่มเติมและปรับปรุงสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ให้ก้าวทันกับการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แผนยุทธศาสตร์ ในการพัฒนาสังคม ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพัฒนาสังคม

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์

2) ชื่อปริญญา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์) Doctor of Philosophy (Buddhistic Sociology)

3) สาขาวิชาสังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์ (เอก)

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

ปรัชญาและความสำคัญ

        หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์ มีปรัชญาพื้นฐานมุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้และการต่อยอดองค์ความรู้ทางสังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์ ฝึกทักษะการยกระดับภาพรวมเชิงนามธรรม การวิพากษ์ข้อจำกัดขององค์ความรู้ที่มีอยู่ การสังเคราะห์จุดแข็งของทฤษฎีต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อบรรลุเป้าหมายการสร้างเสริมสาขาวิชาการที่มีองค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงสังคมและมนุษย์ที่ลุ่มลึกและนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ทางทฤษฎีใหม่ที่มีผลในเชิงปฏิบัติต่อสังคมได้ หลักสูตรดังกล่าวจะให้ความสำคัญกับการศึกษาทฤษฎีสร้างสรรค์สังคม การทำวิจัยภาคสนาม และการเปรียบเทียบประสบการณ์สนามในที่ต่าง ๆ การศึกษาเงื่อนไขและบริบทของการเปลี่ยนแปลง การยกระดับข้อมูลเชิงประจักษ์ให้เป็นนามธรรมในระดับต่าง ๆ และการสังเคราะห์ภาพรวมเชิงนามธรรม องค์ความรู้และทักษะที่สร้างขึ้นจากประสบการณ์ในการวิจัยนี้ นอกจากจะทำให้เกิดสำนึกเชิงจริยธรรมในฐานะสมาชิกของสังคมแล้ว ยังจะนำไปสู่การสร้างความรู้ใหม่ ๆ ที่ตระหนัก เท่าทันและเสนอทางเลือกต่อวิกฤตทางสังคมที่เป็นอยู่ในปัจจุบันด้วย กับทั้งการนำเอาหลักพุทธธรรมมาบูรณาการเพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งที่สำคัญต่อการแก้ปัญหาในปัจจุบันและอนาคต ดังปรัชญาของหลักสูตรที่ว่า

          “มุ่งสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ตามหลักพระพุทธศาสนา ค้นคว้าวิจัย เพื่อการพัฒนาและ ส่งเสริมคุณค่าความเป็นมนุษย์” (To focus on learning society according to Buddhism, searching and research for development and promotion of human value)

2) ความสำคัญของหลักสูตร

ปรัชญาและความสำคัญ

      หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์ มีปรัชญาพื้นฐานมุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้และการต่อยอดองค์ความรู้ทางสังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์ ฝึกทักษะการยกระดับภาพรวมเชิงนามธรรม การวิพากษ์ข้อจำกัดขององค์ความรู้ที่มีอยู่ การสังเคราะห์จุดแข็งของทฤษฎีต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อบรรลุเป้าหมายการสร้างเสริมสาขาวิชาการที่มีองค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงสังคมและมนุษย์ที่ลุ่มลึกและนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ทางทฤษฎีใหม่ที่มีผลในเชิงปฏิบัติต่อสังคมได้ หลักสูตรดังกล่าวจะให้ความสำคัญกับการศึกษาทฤษฎีสร้างสรรค์สังคม การทำวิจัยภาคสนาม และการเปรียบเทียบประสบการณ์สนามในที่ต่าง ๆ การศึกษาเงื่อนไขและบริบทของการเปลี่ยนแปลง การยกระดับข้อมูลเชิงประจักษ์ให้เป็นนามธรรมในระดับต่าง ๆ และการสังเคราะห์ภาพรวมเชิงนามธรรม องค์ความรู้และทักษะที่สร้างขึ้นจากประสบการณ์ในการวิจัยนี้ นอกจากจะทำให้เกิดสำนึกเชิงจริยธรรมในฐานะสมาชิกของสังคมแล้ว ยังจะนำไปสู่การสร้างความรู้ใหม่ ๆ ที่ตระหนัก เท่าทันและเสนอทางเลือกต่อวิกฤตทางสังคมที่เป็นอยู่ในปัจจุบันด้วย กับทั้งการนำเอาหลักพุทธธรรมมาบูรณาการเพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งที่สำคัญต่อการแก้ปัญหาในปัจจุบันและอนาคต ดังปรัชญาของหลักสูตรที่ว่า

          “มุ่งสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ตามหลักพระพุทธศาสนา ค้นคว้าวิจัย เพื่อการพัฒนาและ ส่งเสริมคุณค่าความเป็นมนุษย์” (To focus on learning society according to Buddhism, searching and research for development and promotion of human value)

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

แบบ ๑ เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่:

               ๑) สามารถเป็นผู้นำทางวิชาการ ความคิดในการเปลี่ยนแปลงของสังคม และมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ให้กับสังคมและคนรุ่นใหม่ของสังคมอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม

                ๒) สามารถสังเคราะห์และคิดค้นความคิดรวบยอดขึ้นใหม่อย่างเป็นเหตุเป็นผล สามารถประยุกต์ใช้และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ และสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                ๓) สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้กับสังคม และเสนอทางเลือกในการพัฒนาสังคมที่มุ่งสร้างความเป็นธรรมทางสังคม

                แบบ ๒ เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่:

                ๑) มีความรู้ ความสามารถและความเชี่ยวชาญทั้งในทางทฤษฎีและปฏิบัติในศาสตร์สาขาวิชาสังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์ และพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนกรอบความคิดที่มีอยู่ เพื่อให้เท่าทันกับความเปลี่ยนแปลงทางสังคมทั้งระดับประเทศและระดับสากล

                ๒) สามารถสังเคราะห์และคิดค้นความคิดรวบยอดขึ้นใหม่อย่างเป็นเหตุเป็นผล สามารถประยุกต์ใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจและเข้าถึงองค์ความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                ๓) มีทักษะและศักยภาพในการวิจัยภาคสนามทางสังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์ ทั้งในระดับสังคม ท้องถิ่น และภูมิภาค ซึ่งเข้าใจทั้งความซับซ้อนและความแตกต่างทางสังคม เพื่อจะสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้กับสังคม และเสนอทางเลือกใหม่ในการพัฒนาสังคมที่มุ่งสร้างความเป็นธรรมทางและยุติธรรมทางสังคม

                ๔) สามารถเป็นผู้นำทางความคิดและอัตถลักษณ์ในการเปลี่ยนแปลงทั้งระดับบุคคลและระดับของสังคม และมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ให้กับสังคมและคนรุ่นใหม่ของสังคมอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรมตามแนวพระพุทธศาสนา

1.4 รหัสหลักสูตร T20192099608755

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
ปีการศึกษา 2562

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 3 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งศาสตราจารย์ขึ้นไป และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร มีอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติขั้นต่ำปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไป มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน หรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง คุณสมบัติของ

อาจารย์พิเศษ (ถ้ามี) มีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง มีชั่วโมงสอนไม่เกินร้อยละ 50 ของรายวิชา โดยมีอาจารย์ประจำเป็นผู้รับผิดชอบรายวิชานั้น

ผ่าน
5. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ ต้องเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
6. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ต้องมีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
7. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์

อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย อาจารย์ประจำหลักสูตร และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกไม่น้อยกว่า 5 คน ประธานผู้สอบวิทยานิพนธ์ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก

อาจารย์ประจำหลักสูตร ต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่าและมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติ ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระไม่น้อยกว่า 10 เรื่อง หากไม่มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์ตามที่กำหนดจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงเป็นที่ยอมรับซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ โดยผ่านการเห็นชอบของสภาสถาบันและแจ้ง กกอ ทราบ

ผ่าน
8. การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา

การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา กรณี แผน ก1 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. กรณี แผน ก2 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. หรือ นำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการ (proceedings) กรณี แผน ข รายงานการค้นคว้าหรือส่วนหนึ่งของการค้นคว้าอิสระต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้

ผ่าน
9. ภาระงานอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา

วิทยานิพนธ์ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 5 คน

การค้นคว้าอิสระ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 15 คน

หากอาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอกและมีตำแหน่งทางวิชาการหรือปริญญาโท และมีตำแหน่งทางวิชาการระดับรองศาสตราจารย์ขึ้นไป 1 คนต่อนักศึกษา 10 คน หากเป็นที่ปรึกษาทั้ง 2 ประเภทให้เทียบสัดส่วนนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ 1 คนเทียบเท่ากับนักศึกษาที่ค้นคว้าอิสระ 3 คน

ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ไม่รับการประเมิน
2.2 ผลงานของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
0.00
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
4
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
4
4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
4
2
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.00
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
4
3
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
3.33
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
4
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.11
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
4
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
4
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
4
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
4
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.75
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
3.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (11 ตัวบ่งชี้)
3.30
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2562
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 0 - - - - -
3 3 3.00 - - 3.00 ปานกลาง
4 3 3.11 - - 3.11 ดี
5 4 4.00 3.67 - 3.75 ดี
6 1 - 3.00 - 3.00 ปานกลาง
รวม 11 3.19 3.50 - 3.30 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี - ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

แนวทางการพัฒนา

เรื่องการประชาสัมพันธ์ การรับนักศึกษาของหลักสูตรให้ผ่านการศิษย์ของสถาบันหรือประชาสัมพันธ์ให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย เช่น อสม. องค์กรที่ที่เกี่ยวกับการพัฒนาภาครัฐ 

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

แนวทางการพัฒนา

หลักสูตรควรดำเนินการจัดทำแผนบริหารพัฒนารายบุคคลอาจารย์รายบุคคล (IDP)  โดยกำหนดให้พัฒนา ด้านวิชาการ เช่น ทำวิจัย ตีพิมพ์บทความวิชาการ/วิจัย ในฐานTCI หรือในฐานระดับนานาชาติ scopus ในด้านการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ได้แก่ อาจารย์ทุกท่านต้องดำเนินการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น ด้านทักษะการใช้เทคโนโลยี ดิจิตอล

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

แนวทางการพัฒนา

1.หลักสูตรควรประเมินผู้เรียนให้เป็นครอบคลุมตามกรอบมาตรฐาน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและการรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข และด้านทักษะการดำเนินชีวิตตามวิถีพุทธ

2.หลักสูตรควรเชิญผู้ทรงคุณวุฒิหรืออาจารย์พิเศษที่มีความรู้จริง หรือมีประสบการณ์จริงมาทำการสอนในรายวิชาที่หลักสูตรกำหนด เพื่อประโยชน์ของผู้เรียน ตามบริบทของหลักสูตร

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

แนวทางการพัฒนา

1.หลักสูตรควรดำเนินการประเมินความพึงพอใจนักศึกษาและอาจารย์ ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ โดยกำหนดกรอบการประเมินอย่างน้อย 4 รายการ ได้แก่

    1. ความพร้อมด้านทางกายภาพ

    2. ความพร้อมด้านอุปกรณ์

    3. ความพร้อมด้านเทคโนโลยี

   4. ความพร้อมด้านการให้บริการ

2. หลักสูตรควรสร้างห้องวิจัย ห้องปฏิบัติการ ประจำหลักสูตรเป็นเอกเทศ

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์
ภาพถ่าย