Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2562

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ


บทสรุปผู้บริหาร

.  ผลการประเมินตนเองตามองค์ประกอบ

                จากผลการดำเนินงานของหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค 2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) โดยมีรายละเอียด ผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้

                องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน หลักสูตรมีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่าน

                องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต ไม่ขอรับการประเมิน

                องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา ในการและพัฒนานักศึกษา ทางหลักสูตรได้ให้ความสำคัญกับการรับและคัดเลือกนักศึกษา และการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้ เท่ากับ 3.00 

                องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ หลักสูตรมีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์ และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 3.30

                องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตรการเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน ในการดำเนินการหลักสูตรได้มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ 3.75

                องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ หลักสูตรมีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 นี้เท่ากับ 4.00

                รวมค่าเฉลี่ยทั้ง 6 องค์ประกอบ เท่ากับ 3.44

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ

2) ชื่อปริญญา ศึกษาศาสตรบัณฑิต (การสอนภาษาอังกฤษ)

3) สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย

2) สถานที่เปิดสอน

    มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

          หลักสูตรศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษมุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในด้านการสอน มีการบูรณาการการสอนให้เข้ากับวิชาการทางพระพุทธศาสนาสามารถปฏิบัติหน้าที่ความเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ และเป็นบัณฑิตมีความรู้ความสามารถทางด้านการสอนภาษาอังกฤษ กล้าคิด กล้าทำ กล้าวิพากษ์อย่างมีเหตุผล มีจรรยาบรรณและจริยธรรมสำหรับครูในการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

2) ความสำคัญของหลักสูตร

          ปัจจุบันความต้องการทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสามารถทางภาษาเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้มีความพร้อมในการแข่งขันในบริบทนานาชาติและในบริบทประชาคมอาเซียน ด้วยเหตุนี้ จึงมีคามจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีผู้ที่มีความสามารถทางภาษาอังกฤษมากพอที่จะเป็นแม่แบบได้และสามารถพัฒนาความสามรถทางภาษาอังกฤษของผู้อื่นได้อย่างถูกหลักวิชาการการเรียนการสอนภาษา และในขณะเดียวกันมีความสามรถที่จะเชื่อมโยงความรู้ทางภาษาอังกฤษกับบริบทของโลกาภิวัฒน์ รวมทั้งสามารถศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษได้ ทรัพยากรมนุษย์เหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

          1. ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามาถในการสอนภาษาอังกฤษตามทฤษฎีและหลักการสอนสามารถบูรณาการความรู้ไปสู่กลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น มีความรู้ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา วัฒนธรรมและวรรณคดี มีความเช้าใจในโครงสร้างทางภาษา มีทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์และแก้ปัญหาได้ และสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต

          2. ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจในการวิจัยด้านการศึกษา สามารถประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านสารสนเทศ ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ ได้อย่างเหมาะสม

          3. ผลิตด้านการสอนภาษาอังฤษที่มีความเป็นสากล และส่งเสริมความเป็นไทย ร่วมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ตระหนักถึงคุณค่าของพระพุทธศาสนา มีจิตอาสาถ่ายทอดความรู้สู่ผู้เรียนและสังคม

1.4 รหัสหลักสูตร 25491861105513

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย
ปีการศึกษา 2562

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาชีพ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติการ (วิชาชีพ)
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ไม่รับการประเมิน
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
0.00
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
4
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
4
3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
4
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.00
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
4
3
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
3.89
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
4
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.30
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
4
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
4
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
4
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
4
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.75
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (11 ตัวบ่งชี้)
3.44
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2562
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 0 - - - - -
3 3 3.00 - - 3.00 ปานกลาง
4 3 3.30 - - 3.30 ดี
5 4 4.00 3.67 - 3.75 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 11 3.27 3.75 - 3.44 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี - ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

จุดควรพัฒนา

1.หลักสูตรควรเพิ่มกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ เช่น การทำความร่วมมือร่วมกับหน่วยงานอื่น  สร้าง google fanpage facebook

 

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

จุดควรพัฒนา

- การจัดทำผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำหลักสูตรควรจะมุ่งเน้นการทำวิจัยค้นคว้าเพื่อพัฒนาศาสตร์ในด้านการสอนภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทำการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเพิ่มมากขึ้น และส่งเสริมให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกท่านมีผลงานครบทุกรูป/คน

- หลักสูตรควรจัดทำแผนในการพัฒนาอาจารย์ผู้รับผิดชิอบหลักสูตรเพื่อให้มีตำแหน่งทางวชิาการมากยิ่งขึ้น โดยจะมีระบบพี่เลี้ยง หรือมีการจัดอบรมเพิ่มเติมให้มากยิ่งขึ้น

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

จุดควรพัฒนา

- การบูรณาการการเรียนการสอนกับการวิจัย บริการวิชาการและศิลปวัฒนธรรม ควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาองค์ความรู้และทักษะทางด้านภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้นผ่านกิจกรรมหรือโครงการต่างๆในรายวิชา ทั้งนี้เพื่อเสริมแรงจูงใจให้ผู้เรียนพึงพอใจกับทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ ที่จำเป็นต่อการนำไปใช้ในวิชาชีพในอนาคต

- ควรมีคณะกรรมการที่ กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ มคอ 3-6 ของอาจารย์ผู้สอน โดยอาจจะมีคณะกรรมการจากภายนอกสถาบันหรือ ภายนอกวิทยาเขต

 

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

จุดเด่น

หลักสูตรได้มีการปรับปรุงตามการประเมินผลความพึงพอใจของอาจารย์และนักศึกษา โดยมีการติดตั้ง wifi เพิ่มเติมตามจุดต่างๆ

 

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)

1. การวางแผนกลยุทธ์ด้านการประชาสัมพันธ์เพื่อเพิ่มจำนวนนักศึกษาในหลักสูตรให้เป็นไปตามเป้าหมาย โดยพิจารณาความคุ้มค่าของการเปิดหลักสูตรกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น

2. การกำหนดกิจกรรมในการพัฒนานักศึกษาของหลักสูตรโดยมุ่งเน้นทักษะด้านการใช้ภาษาอังกฤษที่มีความเชื่อมโยงกับพระพุทธศาสนาเพื่อเสริมจุดเด่นตามอัตลักษณ์ของสถาบัน

บทสัมภาษณ์
ภาพถ่าย