Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2562

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต


บทสรุปผู้บริหาร

จากผลการดำเนินงานของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง 3.62  มีคุณภาพอยู่ในระดับดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้

          องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน ของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่าน

          องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต ของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย การผลิตบัณฑิตหรือการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้เท่ากับ 4.32 ระดับคุณภาพดีมาก

          องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา ของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย นักศึกษา ระบบการประกันคุณภาพนักศึกษา ต้องให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษาและการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ 3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง

          องค์ประกอบที่ 4  อาจารย์ ของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 3.81 ระดับคุณภาพดี

          องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน ของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ 3.50 ระดับคุณภาพดี

          องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 นี้เท่ากับ 4.00 ระดับคุณภาพดี

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต

2) ชื่อปริญญา ศิลปศาสตรบัณฑิต ภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์

3) สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด คณะมนุษยศาสตร์

2) สถานที่เปิดสอน

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  ศาลายา เลขที่ 248 หมู่ที่ 1       บ้านสุวรรณ ถ.ศาลายา-นครชัยศรี ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

ผลิตบัณฑิตที่มีความรอบรู้ทางด้านภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์ กล้าแสดงออกอย่างมีเหตุผล เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม ศีลธรรมทั้งพฤติกรรมและความคิด

2) ความสำคัญของหลักสูตร

  1. เพื่อให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาสายบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์ได้ปฏิบัติตามและเข้าใจตรงกัน
  2. เป็นแผนปฏิบัติงานของคณาจารย์ในการจัดการเรียนด้านภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์ให้กับนักศึกษา      
  3.  เป็นมาตรฐานในการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์
  4.  เป็นแนวทางในการส่งเสริมความเจริญงอกงามและพัฒนาการของนักศึกษา สาขาภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์ตามจุดมุ่งหมายของการศึกษา
  5. เป็นเครื่องกำหนดแนวทางในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนักศึกษา สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์เพื่อให้ได้รับประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ชุมชน และสังคม

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจโครงสร้างของภาษาบาลีและสันสกฤต สามารถอ่าน เข้าใจ วิเคราะห์และรู้จักแต่งประโยคบาลีและสันสกฤตได้เป็นอย่างดี

2 เพื่อให้นักศึกษาสามารถเข้าใจเนื้อหาของวรรณคดีและวัฒนธรรมที่ปรากฏอยู่ในวรรณคดีบาลีและสันสกฤต และสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างกับวรรณคดีไทยและวัฒนธรรมไทยได้

3 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจแนวความคิดทางพระพุทธศาสนาและปรัชญาในคัมภีร์ รวมทั้งเรื่องของภารตวิทยามากขึ้น

4 เพื่อให้นักศึกษาสามารถสร้างคำ ประกอบการวิเคราะห์วิจัยคำหรือบัญญัติศัพท์ใหม่ขึ้นใช้ในภาษาไทย

5 เพื่อเป็นพื้นฐานการศึกษาภาษาบาลีสันสกฤตในคัมภีร์ทางพุทธศาสนาในระดับสูงขึ้น

1.4 รหัสหลักสูตร

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต
คณะมนุษยศาสตร์
ปีการศึกษา 2562

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาการ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
4
3.64
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
4
5.00
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
4.32
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
4
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
4
3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
4
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.00
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
4
3
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
4.44
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
4
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.81
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
4
3
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
4
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
4
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
4
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.50
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้)
3.62
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2562
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 2 - - 4.32 4.32 ดีมาก
3 3 3.00 - - 3.00 ปานกลาง
4 3 3.81 - - 3.81 ดี
5 4 3.00 3.67 - 3.50 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 13 3.35 3.75 4.32 3.62 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี ดีมาก ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

จุดเด่น

อาจารย์มีคุณวุฒิที่ตรง ครบถ้วน

จุดควรพัฒนา

1.อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตรควรมีผลงานวิชาการที่อยู่ในฐาน มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร ให้เป็นที่ยอมรับ

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

จุดที่ควรพัฒนา

ควรเปิดหลักสูตรศึกษาบาลีระยะสั้นเพื่อรองรับนักศึกษาในอนาคต

แนวทางการเสริมจุดแข็ง

ตั้งคณะกรรมการเพื่อยกร่างหลักสูตรอบรมระยะสั้น เพื่อรองรับนักศึกษาที่เข้าศึกษาในอนาคต

 

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

จุดแข็ง

อาจารย์ประจำหลักสูตรมีคุณสมบัติตรงตามหลักสูตร

จุดที่ควรพัฒนา

1 อาจารย์ประจำหลักสูตรยังไม่มีความมั่นคง เนื่องจากไม่มีสัญาว่าจ้างที่ชัดเจน มีเพียงคำสั่ง ก่อให้เกิดความไม่มั่นคง และทำให้อัตรการคงอยู่ไม่ดี

2 ควรมีกองทุนพัฒนาอาจารย์ประจำหลักสูตร ด้านผลงานวิชาการ วิจัย การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของอาจารย์

แนวทางเสริมจุดแข็ง

1 ควรเสนอผู้บริหารระดับสูงให้ค่าตอบแทนอาจารย์ประจำหลักสูตรที่เหมาะสม และสนันบสนุนการพัฒนาอาจายรย์ประจำหลักสูตร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

จุดแข็ง

มีการอออกแบบและปรับปรุงหลักสูตรที่ทันสมัยชัดเจนและคงไว้ซึ่งจารีต

จุดที่ควรพัฒนา

ควรมีงานวิจัยในชั้นเรียนเพื่อนำมาบูรณาการกับการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและการสัมฤทธิฺผลของผู้เรียน

แนวทางเสริมจุดแข็งและการปรับปรุงจุดที่ควรพัฒนา

1.ควรมีการแตั้งคณะกรรมการ คณะทำงาน รวมทั้งกำหนดผู้รับผิดชอบ ในการปรับปรุงประสิทธิภาของผู้เรียนและผู้สอน

2.มีการจัดสรรงบประมาณ เพื่อการทำงานวิจัย

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

จุดแข็ง

หลักสูตรมีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ อาทิ ห้องเรียน อินเตอร์เนตความเร็วสูง โปรเจ็คเตอร์ ห้องสมุด ทีเกื้อกูลและสัปปายะ ต่อการเรียนการสอน

จุดที่ควรพัฒนา

1 การบูรณซ่อมแซมอุปกรณ ์การเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ

2 ควรมีกองทุนเพื่อส่งเสริมสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

 แนวทางเสริมจุดแข็งและแนวทางเสริมจุดที่ควรพัฒนา

มีคณะกรรมการที่รับผิดชอบเพื่อส่งเสริมพัฒนาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)

1 มหาวิทยาลัยต้องมีสัญญาว่าจ้างอาจารย์ประจำหลักสูตร และต้องมีการจ่ายค่าตอบแทนทางวิชาการอาจารย์ประจำหลักสูตร ตามวุฒิการศึกษา 

2 หลักสูตรควรมีกองทุนในการพัฒนาอาจารย์ประจำหลักสูตรและการบริหารหลักสูตรอย่างชัดเจน

บทสัมภาษณ์
ภาพถ่าย