Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2562

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา


บทสรุปผู้บริหาร

 

        จากผลการดำเนินงานของหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาประถมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง 3.25  มีคุณภาพอยู่ในระดับคุณภาพระดับดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้

        องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน สาขาวิชาการศึกษาประถมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด มีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่านการประเมิน

        องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาประถมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด ผลิตบัณฑิตหรือการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้เท่ากับ 4.62 ระดับคุณภาพดีมาก

        องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาประถมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด นักศึกษา ระบบการประกันคุณภาพนักศึกษา ต้องให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษาและการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ 3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง

        องค์ประกอบที่ 4  อาจารย์ สาขาวิชาการศึกษาประถมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง

        องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน สาขาวิชาการศึกษาประถมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง  ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ 3 ระดับคุณภาพปานกลาง

        องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ สาขาวิชาการศึกษาประถมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 นี้เท่ากับ 3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา

2) ชื่อปริญญา : ศึกษาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการประถมศึกษา ศษ.บ.(การประถมศึกษา)

3) สาขาวิชาการประถมศึกษา

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตร้อยเอ็ด

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

                 มุ่งผลิตบัณฑิตให้เป็นครูระดับประถมศึกษาที่มีคุณภาพ มีคุณธรรมนำความรู้ มีความสามารถ มีทักษะในการครองตน ครองคน ครองงาน รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของประชาคมโลก รักการเรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถสอนนักเรียนให้คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้มีจิตอาสาช่วยเหลือตนเอง สังคม และประเทศชาติได้     

2) ความสำคัญของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการประถมศึกษา (หลักสูตรปรับปรุงพ.ศ. 2554) มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในด้านการสอนมีการบูรณาการการสอนกับพุทธศาสนาและพุทธวิทยาการศึกษาปฏิบัติหน้าที่ความเป็นครูผู้สอนวิทยาการเฉพาะสาขาวิชาและครูผู้สอนพระพุทธศาสนาและสอนศีลธรรมโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางผลิตบัณฑิตที่มีปรีชาสามารถ (Capability) ทั้งภูมิรู้และภูมิธรรมดำเนินชีวิตด้วยปัญญาบนพื้นฐานหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาบูรณาการพุทธวิทยาการศึกษากับศาสตร์ทางการสอนเป็นบัณฑิตที่มีความรอบรู้ทางด้านการประถมศึกษากล้าคิดกล้าทำกล้าวิพากษ์อย่างมีเหตุผลมีคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

                 หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554)มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้

  1. มีความรู้และประสบการณ์เรียนรู้ สามารถปฏิบัติงานในสาขาวิชาชีพครูได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ ตามข้อกำหนดมาตรฐานวิชาชีพ
  2. มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และริเริ่มสร้างสรรค์ โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ในสาขาวิชีพครูในการแก้ปัญหาในการทำงานได้
  3. มีทักษะความสามารถด้านการสื่อสาร การวิเคราะห์วิจัย การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดการสมัยใหม่
  4. มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาชีพ และมีทักษะความพร้อมด้านสังคม ที่จำเป็นต่อการทำงานและการใช้ชีวิตในอนาคต
  5. มีความสามารถในการใช้องค์ความรู้ในการสื่อสาร การศึกษาเรียนรู้ และปฏิบัติงานในวิชาชีพครูได้

1.4 รหัสหลักสูตร 25491861105491

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
ปีการศึกษา 2562

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาชีพ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติการ (วิชาชีพ)
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
4
4.23
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
4
5.00
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
4.62
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
4
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
4
3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
4
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.00
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
4
3
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
3.00
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
4
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.00
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
4
2
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
4
2
5.3 การประเมินผู้เรียน
4
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
4
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.00
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
3.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้)
3.25
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2562
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 2 - - 4.62 4.62 ดีมาก
3 3 3.00 - - 3.00 ปานกลาง
4 3 3.00 - - 3.00 ปานกลาง
5 4 2.00 3.33 - 3.00 ปานกลาง
6 1 - 3.00 - 3.00 ปานกลาง
รวม 13 2.86 3.25 4.62 3.25 ดี
ผลการประเมิน ปานกลาง ดี ดีมาก ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

ควรเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ได้นักศึกษาตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

ควรมีการจัดกิจกรรมหรือโครงการที่สอดคล้องกับทักษะใน สศตวรรษที่ 21 และตรงกับสาขาของตนเอง

 

 

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

ควรมีแผนการบริหารและพัฒนาอาจารย์

ส่งเสริมการจัดทำผลงานทางวิชาการ เพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ

 

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

ควรมีการวางแผนการสอนที่มีการบูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

มีแบบสรุปผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ที่ชัดเจนเพื่อนำไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

ควรมีการสำรวจความต้องการและความสำคัญของสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

 

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์
ภาพถ่าย

S__104538159S__104538161_1