Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ปีการศึกษา

หลักสูตรศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์


บทสรุปผู้บริหาร

ผลการดำเนินงานของหลักสูตรศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค 2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง  3.50  มีคุณภาพอยู่ใน ระดับคุณภาพดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้

            องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่านเกณฑ์

            องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย การผลิตบัณฑิตหรือการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้เท่ากับ 4.43 ระดับคุณภาพดีมาก

           องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  นักศึกษา ระบบการประกันคุณภาพนักศึกษา ต้องให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษาและการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ 3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
           องค์ประกอบที่ 4  อาจารย์ คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 3.20 ระดับคุณภาพดี

            องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรฯ มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง  ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ 3.50 ระดับคุณภาพดี

            องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 นี้เท่ากับ 4.00 ระดับคุณภาพดี

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์

2) ชื่อปริญญา หลักสูตรศาสนศาสตรบัณฑิต

3)

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด

2) สถานที่เปิดสอน

คณะศาสนาและปรัชญา
วิทยาเขตล้านนา
วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
วิทยาเขตศรีล้านช้าง

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์ มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ดีทั้งทางโลกและทางธรรม มีความสามารถ ดีในการคิดเป็น พูดเป็น ทําเป็น มีคุณธรรมและจริยธรรมประจํากาย วาจา ใจ มีอุดมคติและมีอุดมการณ์ มุ่งอุทิศชีวิตบําเพ็ญ ประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น เข้าใจโลกและชีวิตอย่างลึกซึ้ง หลักการและคําสอนในทางพุทธศาสนา เป็นวิชาการที่สําคัญในอันที่ จะเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับชีวิตและความจริงของสรรพสิ่ง เพื่อทําให้บัณฑิตสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตและการอยู่รวมกันอย่าง สันติสุขดําเนินชีวิตในสังคมได้อย่างราบรื่นและเป็นปกติสุขดําเนินชีวิตในสังคมได้อย่างราบรื่นและเป็นปกติสุข สอดคล้องกับปรัชญา ของมหาวิทยาลัย คือ ความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา 

2) ความสำคัญของหลักสูตร

พัฒนาและอบรมความรู้รวมทั้งสร้างบัณฑิตด้านพุทธศาสตร์ในมิติการบูรณาการสู่การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1 เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้และความเข้าใจพุทธศาสตร์ อันได้แก่ ศาสนา ปรัชญา การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม ในบริบทการเปลี่ยนแปลงสังคมโลกสมัยใหม่อย่างถูกต้อง

2 เพื่อให้บัณฑิตมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และริเริ่มสร้างสรรค์เข้าใจสถานการณ์และปัญหาสังคมอย่าง ชัดเจนรอบด้าน โดยใช้ความรู้ในพุทธศาสตร์ เพื่อแก้ปัญหาในการทํางาน สร้างความก้าวหน้าแก่ชีวิตในทิศทางที่ถูกต้อง

3 เพื่อให้บัณฑิตมีความคิดเปิดกว้างต่อโลกทัศน์ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีวิจารณญาณ

4 เพื่อให้บัณฑิตสามารถนําเอาหลักการและวิธีการทางพุทธศาสตร์ประยุกต์ใช้ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และมี ความสามารถในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานโดยสอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน

1.4 รหัสหลักสูตร 25491861110441

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์
ปีการศึกษา

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
สรุปผลการประเมิน ผ่าน
ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 4 3.85
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต 3.85
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา 4 3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา 4 3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา 4 3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา 3.00
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์ 4 3
4.2 คุณภาพอาจารย์ 5 3.61
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์ 4 3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ 3.20
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร 4 3
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน 4 3
5.3 การประเมินผู้เรียน 4 3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 4 5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน 3.50
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 4 4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (12 ตัวบ่งชี้) 3.37
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 1 - - 3.85 3.85 ดี
3 3 3.00 - - 3.00 ปานกลาง
4 3 3.20 - - 3.20 ดี
5 4 3.00 3.67 - 3.50 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 12 3.09 3.75 3.85 3.37 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี ดี ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

การเขียนคุณวุฒิการศึกษาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

 

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

ทบทวนจำนวนการรับนักศึกษาให้เป็นไปตาม มคอ.2 เหมือนกันทุกแห่ง โดยให้เป็นไปตามมติสภามหาวิทยาลัย

 

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

ควรเพิ่มจำนวนอาจารย์ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก และตำแหน่งทางวิชาการให้มากขึ้น

 

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

1.อธิบายกระบวนการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

2.ควรวางแผนการบูรณารายวิชากับการบริการวิชาการ งานวิจัย และการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมให้เป็นไปตามข้อตกลง ก่อนเปิดภาคการศึกษา

3. ควรมีการวางแผนเชิญอาจารย์พิเศษนอกหลักสูตร มาสอนในรายวิชาที่เหมาะสมทั้งนี้ควรได้เชิญก่อนเปิดภาคการศึกษาอย่างน้อย 30 วัน

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

1.การจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ควรมีความหลากหลายวิธีการมากขึ้น และให้นักศึกษามีส่วนร่วม ในการดำเนินการ

2.คณะวิชาควรจัดงบประมาณให้เพียงพอกับความต้องการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของหลักสูตร

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์
ภาพถ่าย