Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ปีการศึกษา

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2559)


บทสรุปผู้บริหาร

จากผลการดำเนินงานของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง 3.80 มีคุณภาพระดับดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่าน

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย การผลิตบัณฑิตหรือการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้เท่ากับ 4.66

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ด้านนักศึกษา มีระบบการประกันคุณภาพนักศึกษา ต้องให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษาและการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ 3.00

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 4.02

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่องผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ 3.75

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 นี้เท่ากับ 4.00

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2559)

2) ชื่อปริญญา ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ)

3)

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด

2) สถานที่เปิดสอน

คณะมนุษยศาสตร์
วิทยาเขตล้านนา
วิทยาเขตอีสาน

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

ผลิตบัณฑิตที่มีความรอบรู้ ทางด้านภาษาอังกฤษ กล้าแสดงออกอย่างมีเหตุผล เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลธรรม คุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณ

2) ความสำคัญของหลักสูตร

ด้วยปัจจัยสำคัญของกระแสการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมดังที่ระบุในข้อ 11 คณะมนุษยศาสตร์ ภาควิชาภาษาตะวันตก มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จึงได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกด้านการติดต่อสื่อสาร เศรษฐกิจสังคม และตลาดแรงงานในปัจจุบันและอนาคต ที่นักศึกษาสามารถเลือกเรียนได้ตามความสนใจ ได้แก่ กลุ่มรายวิชาที่สัมพันธ์กับรายวิชาที่เน้นความรู้ทางด้านการติดต่อสื่อสาร เป็นต้น การเรียนการสอนในหลักสูตรมุ่งเน้นการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ สอดแทรกความเป็นคนดี มีศีลธรรม คุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณเพื่อให้ได้บุคลากรที่มีคุณภาพ มีความสามารถในการประกอบอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญของประเทศต่อไป

   ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ดี ความประพฤติดี มีความสามารถและประสบการณ์ในสาขาวิชา มีความพร้อมในการทำงานในสถานการณ์ต่างๆ มีศีลธรรม คุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณมีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถ ในการวิจัย พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง และเรียนรู้ตลอดชีวิต

                    1) ด้านการเรียนการสอน ปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนจากแบบบรรยายอย่างเดียวมาเป็นแบบยึดตัวผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง คือ การให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร

                    2) ด้านการวิจัย ให้ความสำคัญในการค้นคว้าและวิจัย เพี่อให้ผู้ศึกษารู้จักการค้นคว้าและการทำวิจัย จึงได้จัดวิชาระเบียบวิธีวิจัยเข้ามาในทุกหลักสูตร

                    3) ด้านบริการวิชาการแก่สังคม จัดกิจกรรมเป็นประจำ การทัศนศึกษานอกสถานที่ การอภิปราย หรือ ปาฐกถา โดยให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการบรรยาย หรือปาฐกถาตลอดจนการสัมมนาทางวิชาการ เป็นต้น

                    4) ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มีการจัดกิจกรรมการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมเป็นประจำทุกภาคการศึกษา ได้แก่ การจัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา การจัดกิจกรรมวันขึ้นปีใหม่ การเข้าร่วมกิจกรรมวันสงกรานต์ เป็นต้น

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร


1.เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรมของไทยทั้งในและนอกประเทศ

2.เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถในการนำความรู้ด้านภาษาอังกฤษไปใช้ประกอบอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ

3.เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ทั้งในภาครัฐและเอกชน

4.เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีศีลธรรม คุณธรรมจริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม

1.4 รหัสหลักสูตร 25491861105502

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2559)
ปีการศึกษา

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
สรุปผลการประเมิน ผ่าน
ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 4.32
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต 4.32
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา 3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา 3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา 3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา 3.00
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์ 4
4.2 คุณภาพอาจารย์ 4.07
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์ 4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ 4.02
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร 3
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน 4
5.3 การประเมินผู้เรียน 3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน 3.75
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (12 ตัวบ่งชี้) 3.70
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 1 - - 4.32 4.32 ดีมาก
3 3 3.00 - - 3.00 ปานกลาง
4 3 4.02 - - 4.02 ดีมาก
5 4 3.00 4.00 - 3.75 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 12 3.44 4.00 4.32 3.70 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี ดีมาก ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

จุดที่ควรพัฒนา

  • ควรเพิ่มเติมการเรียนการสอนที่เน้นเทคโนโลยีและการสื่อสารด้านภาษาอังกฤษมากขึ้น และทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง
  • เพิ่มกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารมากขึ้น
  • ส่งเสริมให้นักศึกษามีการสื่อสารด้านภาษาอังกฤษมากขึ้นในทุกแห่ง เช่น จัดกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ ชมรม การแข่งขันภาษาอังกฤษ เป็นต้นเพื่อให้เกิดการพัฒนาทักษะนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

จุดที่ควรพัฒนา

  • ควรเพิ่มเติมในเรื่องการบันทึกข้อมูลที่ชัดเจนและครอบคลุมมากขึ้นมา มีการให้คำปรึกษา และมีการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
  • ควรประเมินการเตรียมความพร้อม เป็นด้านๆ ตามที่ระบุไว้ ได้แก่ ด้านภาษาอังกฤษ ด้านจริยธรรมและด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

จุดที่ควรพัฒนา

  • ควรประเมินภาระงานของอาจารย์ประจำหลักสูตรให้ชัดเจน
  • ส่งเสริมให้ประจำหลักสูตรทำงานวิจัยหรือผลงานทางวิชาการมากขึ้น ให้ครบทุกวิทยาเขต
  • ส่งเสริมให้อาจารย์ประจำหลักสูตรร่วมอบรมการทำวิจัยและผลงานวิชาอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

จุดที่ควรพัฒนา

- อาจารย์ประจำหลักสูตรยังไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่และสิ่งที่ต้องดำเนินการ

- ควรสร้างความเข้าใจให้กับอาจารย์ประจำหลักสูตรทุกท่านโดยการอบรมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างสาขาวิชา และระหว่างอาจารย์ในส่วนกลางและวิทยาเขต

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
-
สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์
ภาพถ่าย